Page 96 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 96
94 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ตัวอย่างที่ ๔ กฎหมายภายในประเทศหนึ่ง คู่สมรสสามารถยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้
แต่คู่สมรสเพศเดียวกันไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้เนื่องจากความสัมพันธ์แบบเพศเดียวกัน
นั้นไม่มีการรับรองทางกฎหมาย ส่งผลให้คู่สมรสเพศเดียวกันถูกจำากัด (restricted) จากการใช้สิทธิ
ในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ตัวอย่างที่ ๕ องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่ง มีกลุ่มเป้าหมายทำางานเฉพาะคือกลุ่มชาติพันธุ์
และกลุ่มศาสนา องค์กรแห่งนี้ประกาศรับสมัครผู้ร่วมงานแต่เปิดโอกาสให้เฉพาะบุคคลที่เป็นกลุ่ม
ชาติพันธุ์และนับถือศาสนาเดียวกับองค์กรเท่านั้น ส่งผลให้มีการให้ สิทธิเศษกับกลุ่มเฉพาะนั่นเอง
“
เป้าหมายหรือประสิทธิพลของการเลือกปฏิบัติ
คือการทำาให้ไร้ค่าหรือทำาให้รู้สึกบกพร่องในการยอมรับ
การใช้สิทธิหรือการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน
”
ก�รเลือกปฏิบัติโดยพฤตินัยและนิตินัย (De-facto and De-jure discrimination)
การเลือกปฏิบัติโดยพฤตินัยสามารถเกิดขึ้นเมื่อ “เกี่ยวข้องกับกฎหมาย” หรือโดยนิตินัยคือ
ในทางปฏิบัติ ในตัวอย่างที่ ๑ นั้นแสดงให้เห็นว่า กฎหมายในประเทศบัญญัติว่ามีระบบประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลทางทัศนคติของสังคมต่อผู้ติดเชื้อ HIV ทำาให้โรงพยาบาล
ไม่ให้บริการรักษาพยาบาลต่อนายดี ปฏิเสธสิทธิในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม
สิ่งนี้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยนิตินัย หรือการเลือกปฏิบัติในดำาเนินงาน
ก�รเลือกปฏิบัติท�งตรงและท�งอ้อม (Direct and indirect discrimination)
ในกรณีที่เจตนารมณ์ของ กฎหมาย/กฎ/ระเบียบ/มาตรฐาน เป็นการปฏิบัติต่อสมาชิกของ
กลุ่มแตกต่างกันด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติหรือ
ถิ่นกำาเนิด ทรัพย์สินหรือสถานะ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติทางตรง (direct discrimination)
อาจมีบางกรณีที่ กฎหมาย/กฎ/ระเบียบ/มาตรฐาน ที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เสมอภาคกัน แต่
กระทบต่อมาตรฐานที่ส่งผลต่อเหตุแห่งการเสียเปรียบกับคนบางกลุ่มและไม่มีเหตุผลในการอธิบาย
เพื่อปกป้องความเสียหายต่อกลุ่มนั้น นั่นหมายถึง การเลือกปฎิบัติทางอ้อม (indirect discrimination)