Page 101 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 101
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 99
๒. สิทธิในชีวิต (Right to life)
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิโดยกำาเนิดที่จะดำารงชีวิตอยู่
รัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่มีอำานาจที่จะเอาชีวิตบุคคลใดตามอำาเภอใจหรือโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย รัฐไม่สามารถลดรอนพันธะหน้าที่ของตนที่เกิดขึ้นจากสิทธิดังกล่าวของบุคคล แม้ในยาม
ภาวะฉุกเฉินที่คุกคามความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติ
พันธกรณีของรัฐ
v รัฐจำาเป็นต้องดำาเนินการใช้มาตรการต่างๆ ที่เอื้อให้บุคคลสามารถดำารงชีวิตอยู่อย่างมี
เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
v รัฐจะต้องดำาเนินการให้แน่ใจว่าประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนสามารถเข้าถึง
สิ่งจำาเป็นพื้นฐานสำาหรับการดำารงชีพ
v รัฐจะต้องใช้อำานาจควบคุมบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อป้องกันและลงโทษในกรณีที่มีการ
ประกอบอาชญากรรมที่ทำาให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต
ในขณะที่ร่างกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้
ถกเถียงถึงประเด็นโทษประหารชีวิต สุดท้ายใน ICCPR ก็ยังไม่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งใน
ประเทศต่างๆ ก็ยังคงมีการลงโทษประหารชีวิตอยู่ การลงโทษนั้นต้องเป็น “อาชญกรรมร้ายแรงที่สุด”
และดำาเนินไปตามกฎหมาย และตามหลักการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ โทษประหารชีวิต
ต้องไม่ลงโทษกับหญิงตั้งครรภ์ และผู้กระทำาความผิดต่ำากว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
ในปี ค.ศ. ๑๙๘๙ พิธีสารเลือกรับกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองว่า
ต้องยกเลิกโทษประหารชีวิตซึ่งยอมรับโดยสหประชาชาติ
ประเทศไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตามพิธีสารเลือกรับ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ได้ยกเลิกโทษ
ประหารกับผู้กระทำาความผิดอายุต่ำากว่า ๑๘ ปี แต่ยังไม่ยกเลิกการลงโทษกับหญิงตั้งครรภ์และผู้ป่วย
ทางจิต ตามกฎหมาย โทษประหารชีวิตจะลงโทษกับผู้ที่ก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ ยังมีระบบการ
ขออภัยโทษเหลือเป็นการจำาคุกตลอดชีวิต