Page 31 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 31

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 29







                     สันติภาพเช่นนี้ไม่ได้แยกความรุนแรงออกไป  กล่าวคือ ทหารอาจเข้าถึงสันติภาวะภายในแม้ว่าทหาร

                     คนดังกล่าวจะกระทำาความรุนแรงกับบุคคลอื่นอยู่ก็ได้ การสร้างระเบียบทางสังคมที่มีเสถียรภาพและ
                     คาดการณ์ได้ อาจเป็นผลมาจากการใช้กำาลังหรือขู่จะใช้กำาลังก็ได้

                            แต่ในอีกด้านหนึ่ง สันติภาพเชิงลบ หมายถึง สภาวะที่ปลอดจากความรุนแรงอย่างเป็นระบบ
                     ของบรรดากลุ่มต่างๆ ในสังคม (อย่างเช่น ระหว่างชนชั้นต่างๆ ในสังคม หรือระหว่างกลุ่มเชื้อชาติและ

                     ชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคม) และระหว่างประเทศ  ตามความเข้าใจดังกล่าว การละเมิดต่อสันติภาพจะ

                     เกิดขึ้นเมื่อเกิดความรุนแรงอย่างเป็นระบบที่ก้าวข้าม “เส้นพรมแดนความเป็นมนุษย์” หรือเส้นแบ่งแยก
                     มนุษย์ ความรุนแรงที่ไม่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ หรือการประท้วงเป็นครั้งคราวไม่ถือเป็นการละเมิด
                     ต่อสันติภาพ

                            ความเข้าใจต่อสันติภาพทั้งสองรูปแบบไม่ได้แยกความสัมพันธ์ในเชิงลบของสังคมออกไป

                     กล่าวคือ เรายังสามารถใช้กฎหมายเผด็จการเพื่อสนับสนุนให้เกิดจุดเสถียรภาพหรือดุลยภาพได้ ความ
                     รุนแรงอย่างเป็นระบบอาจหายไป เป็นเพราะความสัมพันธ์เชิงอำานาจที่ไม่สมดุลระหว่างกลุ่มต่างๆ

                     ในสังคมหรือระหว่างประเทศ  ในขณะที่กลุ่มที่มีขนาดเล็กไม่มีศักยภาพในการท้าทายอำานาจของกลุ่ม
                     ที่มีขนาดใหญ่ได้

                            กัลตุง แย้งว่า เนื่องจากสันติภาพเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ สันติภาพจึง

                     น่าจะมีความหมายอื่นนอกเหนือจาก “จุดเสถียรภาพหรือดุลยภาพ” หรือการปลอดจากความรุนแรง
                     อย่างเป็นระบบเท่านั้น  เขาบอกว่า สันติภาพควรหมายถึงการสร้างเงื่อนไขที่สนับสนุนให้เกิดความ

                     สัมพันธ์เชิงบวกในสังคม เขาได้ระบุต่อไปว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกในสังคมอาจประกอบด้วย

                            ก.  ความร่วมมือหรือความเป็นอิสระของกลุ่มต่างๆ ในสังคมและระหว่างประเทศ
                            ข.  เสรีภาพจากความกลัว

                            ค.  เสรีภาพจากความต้องการ
                            ง.  การเติบโตและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

                            จ.  การหมดไปของการเอารัดเอาเปรียบ
                            ฉ. ความเท่าเทียม

                            ช.  ความยุติธรรม
                            ซ.  เสรีภาพที่จะปฏิบัติการ

                            ฌ. ความเป็นพหุนิยมและการอยู่ร่วมกันของความหลากหลายด้านสังคมและวัฒนธรรม
                            ญ. พลวัตหรือความสามารถของสังคมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง

                            หลักนิติธรรม ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพเชื่อมโยงกันอย่างไร  ระบบตาม

                     หลักนิติธรรม สถาบันที่เป็นประชาธิปไตย และการเคารพสิทธิมนุษยชนส่งเสริมให้เกิดเงื่อนไขเชิงบวก
                     ในสังคม  ในทางกลับกัน เงื่อนไขเชิงบวกเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกในสังคมและ

                     เป็นการส่งเสริมสันติภาพไปในตัว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36