Page 33 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 33

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 31





















































                            ในบทที่แล้วได้แสดงให้เห็นว่า สิทธิมนุษยชนได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิ
                     หน้าที่ พันธกรณี ระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกัน ปัจเจกบุคคลกับรัฐ และรัฐกับเวทีนานาชาติ รัฐผู้มี

                     หน้าที่นิติบัญญัติ บริหารบ้านเมือง และตุลาการ มีความรับผิดชอบทำาให้สิทธิของประชาชนได้รับความ
                     เคารพ (respect) คุ้มครอง (protect) และส่งเสริมให้เป็นจริง (fulfill) ในสังคม รัฐซึ่งแบ่งแยกออกได้

                     เป็นสามส่วนทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ จึงเป็นกลไกหลักระดับประเทศที่ประกันการ
                     คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

                            นอกจากสถาบันเหล่านี้ ยังมีกลไกอิสระอื่นๆ ในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ

                     ที่คอยตรวจสอบและสนับสนุนให้รัฐปฏิบัติให้สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
                            ในบทนี้เป็นการเกริ่นนำาเบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันที่มีส่วนสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                     ในประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ  ในระดับประเทศ เราให้ความสำาคัญกับกลไกตุลาการและ

                     องค์กรอิสระ อย่างเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
                     พร้อมๆ กับการเกริ่นนำาเกี่ยวกับสถาบันเหล่านี้ ยังเป็นการอธิบายถึงอำานาจหน้าที่และเน้นให้เห็น
                     กระบวนการที่สถาบันเหล่านี้ทำางานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างเช่น รัฐและภาคประชาสังคมเพื่อ

                     สนับสนุนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38