Page 29 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 29
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 27
มีส่วนในการระบุปัญหา กำาหนดเป้าหมายและลำาดับความสำาคัญ และที่จะจัดตั้งกลไกเพื่ออำานวยให้มี
การใช้สิทธิต่างๆได้อย่างเต็มที่
๑๖. หลักนิติธรรม/ก�รปกครองด้วยหลักกฎหม�ย (Rule of law) คืออะไร
เชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนอย่�งไร
หลักนิติธรรม/การปกครองด้วยหลักกฎหมาย (Rule of law) เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับหลักการใช้
อำานาจโดยพลการ เป็น “หลักการ” ที่กำาหนดว่ากฎหมายควรบัญญัติโดยฝ่ายนิติบัญญัติ นำามาใช้โดย
ฝ่ายบริหาร และตีความโดยฝ่ายตุลาการ หลักนิติธรรมเป็นหลักการหนึ่งของการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่คนทุกคน สถาบัน องค์กรอื่นๆ อย่างองค์กรสาธารณะและองค์กรอิสระ รวมถึงรัฐเอง
มีหน้าที่รับผิดชอบต่อกฎหมาย ตามที่ได้ประกาศใช้โดยบังคับใช้อย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมกัน และมี
การพิจารณาวินิจฉัยตัดสินคดีอย่างเป็นอิสระ ทั้งต้องสอดคล้องกับบรรทัดฐานและมาตรฐานระหว่าง
๕
ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
หลักนิติธรรม/การปกครองด้วยหลักกฎหมาย (Rule of law) ยึดถือหลักการ ความมีอำานาจ
สูงสุดของกฎหมาย ความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย ความรับผิดต่อกฎหมาย ความยุติธรรม
ในการใช้กฎหมาย การแบ่งแยกอำานาจและการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ความแน่นอนทางกฎหมาย หลีกเลี่ยงการกระทำาตามอำาเภอใจ รวมทั้งกระบวนการและขั้นตอนตาม
๖
กฎหมายที่โปร่งใสตรวจสอบได้
เราจำาเป็นต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างระบบนิติธรรมกับระบบที่มีหลักนิติธรรม
พื้นฐานของระบบนิติธรรมมาจากการเคารพกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process of
๗
law) กระบวนการอันควรตามกฎหมายหมายถึงหลักการพื้นฐานที่ประกันว่าจะไม่มีการจำากัดสิทธิ
และเสรีภาพ เว้นแต่มีการกำาหนดไว้โดยกฎหมาย และกำาหนดว่ากฎหมายจะต้องมีเหตุผลหรือไม่ใช่
การใช้อำานาจโดยพลการ และกำาหนดให้ขั้นตอนปฏิบัติด้านความยุติธรรมมีความเป็นธรรม และบุคคล
ทุกคนมีโอกาสที่จะได้ร้องเรียนกรณีที่ถูกจำากัดสิทธิของตน
หลักการของกระบวนการอันควรตามกฎหมายช่วยรักษาสมดุลของอำานาจ และประกันว่า
กฎหมายจะไม่ถูกใช้เพื่อตอบสนองการใช้อำานาจอย่างมิชอบ
๕ Report of the Secretary General: The Rule of Law and Transitional Justice in Conflict and Post Conflict
Societies (2004)
๖ ibid
๗ The Law Dictionary http://thelawdictionary.org/due-process-of-law/