Page 27 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 27

คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 25







                            ทนายความและผู้พิพากษามีบทบาทสำาคัญในกระบวนการนี้ กล่าวคือ ทนายความสามารถ

                     อ้างหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและประมวลคำาพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้อง
                     ในคำาร้องหรือข้อแก้ต่างที่มีต่อศาล  ส่วนผู้พิพากษาก็สามารถใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง

                     ประเทศและประมวลคำาพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำาหนดนิยามและหลักเกณฑ์การใช้
                     บรรทัดฐานหรือข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน

                            v การจัดทำากฎหมายนโยบายและกลไก เมื่อรัฐให้สัตยาบันต่อกติการะหว่างประเทศแล้ว

                              รัฐย่อมมีพันธกรณีที่จะต้องนำามาตรการเชิงกฎหมาย ตุลาการ ฝ่ายบริหารและอื่นๆ
                              มาใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายดังกล่าว กฎหมายสิทธิ
                              มนุษยชนระหว่างประเทศจึงอาจให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำามาตรการเหล่านี้

                              ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานซึ่งมีการกำาหนดไว้ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Conven-

                              tion Against Torture) มาตรฐานหลักเกณฑ์ขั้นต่ำาในการปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขัง (Standard
                              Minimum Rules on the Treatment of Prisoners) และประมวลคำาพิพากษาที่เป็น
                              บรรทัดฐานของคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(Committee on

                              Civil Political Rights) ซึ่งมีส่วนช่วยในการกำาหนดกฎหมายต่อต้านการทรมานที่รอบด้าน

                            v การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกรอบ
                              กฎหมายอาจให้แนวปฏิบัติในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน การประเมิน

                              ข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อวิเคราะห์ว่ามีการยอมรับและนำามาตรฐานและบรรทัดฐานด้าน
                              สิทธิมนุษยชนมาใช้ในระบบกฎหมายในประเทศ และมีการปฏิบัติมากน้อยเพียงใด ช่วยให้

                              เห็นช่องว่างและขั้นตอนที่สามารถดำาเนินการเพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว การตรวจสอบด้าน
                              สิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบที่

                              ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเหล่านี้





                        ๑๓.      อำ�น�จเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนอย่�งไร





                            ในทุกสังคมล้วนมีพลวัตของความสัมพันธ์เชิงอำานาจอยู่เสมอ มีบางคนอยู่ในฐานะที่จะใช้

                     อำานาจเหนือผู้อื่นได้ทั้งในทางลบ และทางบวก การใช้อำานาจนั้นสามารถทำาได้ในหลายพื้นที่ของการ
                     ตัดสินใจ และกำาหนดให้ทิศทางที่ทำาให้สังคมดำาเนินไปได้  ปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชน คือ การปรับ
                     เปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำานาจที่มีเหนือคนชายขอบและผู้ถูกกีดกันทางสังคม เพื่อนำาไปสู่การสร้าง

                     สังคมที่สิทธิของมนุษย์ทุกคนได้รับการเคารพ คุ้มครอง และส่งเสริมให้สิทธิต่างๆ เป็นจริง
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32