Page 26 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 26
24 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
นอกจากสิทธิของกลุ่มเฉพาะดังกล่าว ยังมีความจำาเป็นที่จำาแนกบรรทัดฐานและมาตรฐาน
ของสิทธิเฉพาะด้าน ดังอนุสัญญาที่ได้รับรองแล้ว ต่อไปนี้
v อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ
ย่ำายีศักดิ์ศรี ค.ศ. ๑๙๘๔ (The Convention against Torture and Other Cruel,
Inhuman or Degrading Treatment on Punishment)
v อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ค.ศ. ๒๐๐๖
(The International Convention for the Protection of All Persons from Enforced
Disappearance)
๑๒. จะนำ�กฎหม�ยระหว่�งประเทศม�ปรับใช้กับระบบในประเทศอย่�งไร
โดยทั่วไปแล้ว ระบบกฎหมายของประเทศเป็นตัวกำาหนดว่าจะมีการนำาสนธิสัญญาสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศอย่างไร ในระบบกฎหมายเดี่ยว (‘monoist’ system)
หลังจากรัฐให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศแล้ว ข้อบัญญัติของสนธิสัญญาดังกล่าว
จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในประเทศโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดีในระบบกฎหมายคู่ (‘dualist’
system) ก่อนจะมีผลบังคับใช้ในประเทศ ต้องมีการผนวกเนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามา
เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายในประเทศเสียก่อน โดยหลักการแล้ว ประเทศไทยถือเป็นประเทศในระบบ
กฎหมายคู่ หมายความว่ากรณีที่ไทยเข้าเป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญาฉบับใด เนื้อหาของสนธิสัญญา
ฉบับนั้นจะยังไม่ถือเป็นเนื้อหาของกฎหมายไทยโดยอัตโนมัติ
แต่แม้จะมีเงื่อนไขตามระบบกฎหมายดังกล่าว เราก็สามารถนำากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้
ในประเทศได้ โดยผ่านวิธีการต่างๆ อย่างเช่น
v การตีความสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อจำาแนกขอบเขตและเนื้อหาที่ชัดเจน รัฐธรรมนูญของ
ประเทศส่วนใหญ่ให้การรับรองสิทธิซึ่งมีการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(Universal Declaration of Human Rights - UDHR) และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and
Political Rights - ICCPR) อย่างไรก็ดี การตีความสิทธิในรัฐธรรมนูญเหล่านี้อาจเป็น
นามธรรมหรือคลุมเครือ ในกรณีเช่นนั้น เราอาจใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศและประมวลคำาพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาบรรทัดฐาน
และมาตรฐานในการจำาแนกขอบเขตและเนื้อหาของสิทธิตามรัฐธรรมนูญได้