Page 30 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 30
28 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
๑๗. ประช�ธิปไตยคืออะไร เชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนอย่�งไร
คำาว่า “ประชาธิปไตย” มีที่มาจากภาษากรีก ว่า dTmokratiE หมายถึง “การปกครองโดย
ประชาชน” ซึ่งหมายถึง ระบบที่เชื่อในอุดมคติที่ว่าการตัดสินใจที่มีผลต่อหมู่คณะควรเกิดขึ้นจากการ
มีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งมวล โดยสมาชิกทุกคนควรมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการมีส่วนในการ
ตัดสินใจนั้นๆ ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงมุ่งเน้นหลักการควบคุมโดยปวงชนโดยการตัดสินใจของหมู่คณะ
และหลักสิทธิเสมอภาคในการทำาการควบคุมนั้น ใน ค.ศ.๒๐๐๐ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาติ (United Nations Commission on Human Rights) ได้ประกาศว่า องค์ประกอบอันเป็น
สาระสำาคัญของประชาธิปไตย ได้แก่ การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เสรีภาพใน
การสมาคม เสรีภาพในการแสดงออกและความคิดเห็น การเข้าถึงอำานาจและการใช้อำานาจตามหลัก
นิติธรรม การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมตามหลักหลักสากล การมีพรรคการเมืองและองค์กรทาง
การเมืองที่มีความหลากหลาย การแบ่งแยกอำานาจ ระบบตุลาการที่เป็นอิสระ ความโปร่งใส
ตรวจสอบได้ในการบริหารงานของรัฐ และความมีเสรีภาพ การมีอิสระ และความหลากหลายของ
สื่อมวลชน
ดังนั้น ค่านิยมเสรีภาพ การเคารพสิทธิมนุษยชน การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ล้วนเป็น
หลักการที่เป็นแก่นสาระของระบอบประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันประชาธิปไตยก็เอื้อต่อการปกป้อง
คุ้งครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
๑๘. เข้�ใจสันติภ�พ คว�มเชื่อมโยงระหว่�งประช�ธิปไตย หลักนิติธรรม
สิทธิมนุษยชน และสันติภ�พ ๘
เราสามารถทำาความเข้าใจกับสันติภาพโดยผ่านหลายมุมมอง โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung)
ได้อธิบายแนวคิดด้านสันติภาพไว้สามประการ ได้แก่ สันติภาพในฐานะเป็นจุดเสถียรภาพหรือ
ดุลยภาพ สันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก
ในฐานะเป็น “จุดเสถียรภาพหรือดุลยภาพ” สันติภาพจะหมายถึงสภาวะภายในของมนุษย์
ซึ่งเข้าถึงสันติภาวะของตนเอง รวมทั้ง “ระเบียบทางสังคมที่คาดการณ์ได้” อย่างไรก็ดี แนวคิดเกี่ยวกับ
๘ Theories of Peace, Johan Galtung, International Peace Research Institute, Oslo, 1967