Page 139 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 139
คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 137
๑๑. สิทธิในเสรีภ�พก�รเคลื่อนย้�ย (Right to freedom of movement)
คนทุกคนที่อาศัยอยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายในพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของรัฐหนึ่งใด
มีอิสระที่จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ และตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในสถานที่ที่ตนเองเลือก
คนทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใดๆ ก็ได้ รวมถึงประเทศของตนเอง การละเมิดสิทธิ
ปรากฏขึ้นเมื่อมีการกำาหนดข้อจำากัดเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด และข้อจำากัด
เช่นที่ว่านั้น
v ไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ และ
v ไม่สามารถหาเหตุผลสนับสนุนได้ว่าเป็นเรื่องจำาเป็นที่จะต้องคุ้มครอง
b ความมั่นคงของชาติ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข ศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือ
b สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ และ
b ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนอื่นๆ
สิทธิดังกล่าวนี้ยังชี้ให้เห็นโดยนัยว่าไม่มีผู้ใดกระทำาการโดยมิชอบด้วยกฎหมายในการพราก
สิทธิของบุคคลในการกลับเข้าประเทศของตนเอง
รัฐจะต้องไม่เพียงแต่ไม่แทรกแซงเสรีภาพของบุคคลในการเคลื่อนย้าย แต่จะต้องดำาเนินการ
ให้แน่ใจว่า สิทธินั้นไม่ถูกจำากัดมากเกินควรโดยบุคคลอื่นใด
ข้อกังวลเกี่ยวกับเสรีภ�พในก�รเคลื่อนย้�ยในประเทศไทย
เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ อย่างไรก็ตาม คนงานข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงประสบกับอุปสรรค
ในการเข้าถึงสิทธิดังกล่าว การจำากัดเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสิทธิ
ขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช่นกัน
ต่อไปนี้เป็นบทสรุปเกี่ยวกับข้อกังวลของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ในการ
รณรงค์ “สิทธิในการได้รับใบขับขี่และครอบครองรถมอเตอร์ไซค์ของคนงานข้ามชาติในประเทศไทย”
มสพ. เป็นหน่วยงานระดับชาติเพื่อทำางานส่งเสริมและคุ้มครองคนงานข้ามชาติ ๔๑
๔๑ รายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนตามวาระ (UPR) ข้อสรุปว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคนงานข้ามชาติในไทย
จัดเตรียมโดยมูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) (UPR Submission: Summary on Human Rights Situation
of Migrant Workers in Thailand, prepared by the Human Rights and Development Foundation)