Page 86 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 86
พ.ศ. ๒๕๕๑ กฎกระทรวงและระเบียบกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติ
ต่อผู้ต้องขัง พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๓.๑.๘ สำานักงานอัยการสูงสุด สมควรเร่งรัดจัดเตรียมบุคลากร
และงบประมาณ ทั้งในสำานักงานสอบสวนที่จัดตั้งเป็นสำานักงานขึ้นใหม่
รวมทั้งสำานักงานในภูมิภาคให้มีความตระหนัก และมีบทบาทในการทำา
หน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลอำานาจสืบสวนสอบสวนของพนักงานสอบสวน
เพื่อการคุ้มครองบุคคลที่ถูกกระทำาการทรมาน หรือบุคคลที่ถูกบังคับให้
สูญหาย
๓.๑.๙ ศาลยุติธรรมสมควรเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจ
แก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมในสังกัดเช่นเดียวกัน
คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรม
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมราชทัณฑ์) สำานักงานตำารวจแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ สำานักงานอัยการสูงสุด สมควรเผยแพร่ความรู้และสร้างความ
เข้าใจแก่เจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องใน
สังกัด เกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคล
ถูกบังคับให้สูญหาย รวมถึงพิจารณาขอบเขตอำานาจหน้าที่ของตนและ
ความเชื่อมโยงกับอำานาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่นในการคุ้มครองมิให้
บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศนี้ นับแต่การ
สอบสวนและดำาเนินคดีความผิดฐานการบังคับให้บุคคลสูญหาย บันทึก
ข้อมูลผู้ถูกคุมขังระหว่างควบคุมตัวในสถานคุมขัง การคุ้มครองเด็ก
เนื่องจากการบังคับให้บุคคลสูญหาย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การชดเชย
ค่าเสียหายหรือฟื้นฟูเยียวยา
84 การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย