Page 85 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 85
กลาโหม กระทรวงสาธารณสุข (กรมสุขภาพจิต) และหน่วยงานอื่นที่
เกี่ยวข้อง สมควรเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานและ
เจ้าหน้าที่ในสังกัด เกี่ยวกับแนวคิดและการดำาเนินการตามพิธีสารเลือกรับ
ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และกำาชับให้หน่วยงานในสังกัด
เตรียมรองรับการตรวจเยี่ยมของกลไกการป้องกันระดับชาติ และ
คณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการทรมานของสหประชาชาติ
๓.๑.๕ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ) สมควรพิจารณาหน่วยงานที่จะทำาหน้าที่เป็นกลไก
การป้องกันในระดับชาติแต่เนิ่น และเตรียมดำาเนินการที่จำาเป็นเพื่อให้
หน่วยงานนั้นสามารถทำาหน้าที่เป็นกลไกการป้องกันระดับชาติ รวมถึง
การตรวจเยี่ยมสถานคุมขังและสถานที่อื่นใดตามที่กำาหนดในพิธีสารฯ
ได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ
๓.๑.๖ คณะรัฐมนตรี ควรเร่งรัดการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย
ภายในเพื่อให้ประเทศไทยสามารถให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่าง
ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายได้โดยเร็ว
๓.๑.๗ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ กรมราชทัณฑ์) กระทรวงมหาดไทย สำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ
สำานักนายกรัฐมนตรี (สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา) รวมทั้ง
สำานักงานอัยการสูงสุด สมควรทบทวนกฎหมาย กฎเกณฑ์ คำาสั่ง วิธีการ
และแนวปฏิบัติ ในความรับผิดชอบที่อาจขัดหรือแย้งกับการคุ้มครอง
มิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายตามอนุสัญญาระหว่างประเทศนี้ กฎหมาย
ดังกล่าว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 83
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย