Page 81 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 81
ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับ
ให้สูญหาย ดังนี้
๒.๔.๑ การคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย ควรกำาหนด
เป็นกฎหมายเฉพาะและให้ผนวกกลไกดำาเนินการตามอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ ไว้ในกฎหมายดังกล่าวด้วย โดยให้จัดตั้งหรือมอบหมาย
หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ รับผิดชอบการคุ้มครองบุคคล
มิให้ถูกบังคับให้สูญหายควบคู่กับการต่อต้านการทรมาน รวมทั้งให้จัดสรร
ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแก่หน่วยงานดังกล่าวอย่างเพียงพอ
อีกประการหนึ่ง การกำาหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการติดตาม
ผู้สูญหายโดยถูกบังคับตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองบุคคลจากการ
สูญหายโดยถูกบังคับ พ.ศ. .... (ฉบับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
ควรคำานึงถึงสัดส่วนของผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้วย
๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า การอนุวัติกฎหมายภายใน
ควรกำาหนดเป็นกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้การคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับ
ให้สูญหายมีกลไกการดำาเนินงานที่มีประสิทธิภาพและถ่วงดุล ไม่ควรใช้
การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีตำารวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย
อันอาจไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง หรือไม่อาจอธิบายให้สังคมหาย
เคลือบแคลงเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองบุคคลจากการถูกบังคับให้
สูญหาย เนื่องจากผู้กระทำาผิดและผู้สอบสวนเป็นตำารวจด้วยกัน การใช้
กลไกปกติ ได้แก่ ตำารวจหรือเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ สอบสวน
ผู้กระทำาผิดฐานบังคับให้บุคคลสูญหายอาจถูกกล่าวหาว่าไม่น่าเชื่อถือ
และไม่เป็นธรรม จึงควรใช้การคานหรือถ่วงดุลอำานาจจากพนักงาน
สอบสวน เช่น พนักงานอัยการ ซึ่งทำาหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เป็นต้น
การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม 79
หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย