Page 90 - การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีและเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
P. 90

๓.๒.๖ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิ

            และเสรีภาพ) กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมควร
            แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและ
                                                        ๖๐
            ค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๓   และรายการ
                              ๖๑
            ท้ายพระราชบัญญัติฯ   เพื่อประกันว่าผู้เสียหายเนื่องจากการถูกบังคับ
            ให้สูญหายจะได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
            และเพียงพอ

                  ๓.๒.๗ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงกลาโหม สำานักนายกรัฐมนตรี

            (สำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมควร
            เสนอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
                                       ๖๒
            ฉุกเฉิน  พ.ศ. ๒๕๔๘  มาตรา  ๑๒   เพื่อประกันว่า การควบคุมตัวบุคคล
            ที่ต้องสงสัยตามกฎหมายดังกล่าว จะไม่เป็นการควบคุมในสถานที่ลับ
            และต้องสามารถตรวจสอบได้






            ๖๐  มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
                “ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำา
                ความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำาความผิดนั้น
            ๖๑  ความผิดที่กระทำาต่อผู้เสียหายซึ่งทำาให้ผู้เสียหายอาจขอรับค่าตอบแทนได้ตาม มาตรา ๑๗ ได้แก่ ความผิดตาม
                ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๒ ความผิด
                    ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ        มาตรา ๒๗๖ ถึง มาตรา ๒๘๗
                     ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
                             หมวด ๑ ความผิดต่อชีวิต          มาตรา ๒๘๘ ถึง มาตรา ๒๙๔
                    หมวด ๒ ความผิดต่อร่างกาย         มาตรา ๒๙๕ ถึง มาตรา ๓๐๐
                    หมวด ๓ ความผิดฐานทำาให้แท้งลูก       มาตรา ๓๐๑ ถึง มาตรา ๓๐๕
                    หมวด ๔ ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือคนชรา  มาตรา ๓๐๖ ถึง มาตรา ๓๐๘
            ๖๒  มาตรา ๑๒  ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศใน มาตรา ๑๑ (๑)  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
                ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำานาจหรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำาเนินการ  เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว  ให้พนักงาน
                เจ้าหน้าที่มีอำานาจจับกุมและควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน  และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำาหนดซึ่งไม่ใช่สถานีตำารวจ
                ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำา...



       88      การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
               หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
               รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95