Page 57 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 57
และนำาตัวผู้ใดออกมา เมื่อนั้นจึงจะรู้ตัว และเมื่อผ่านพิธีการด้านการตรวจสอบบุคคล พิธีกรรม
ทางศาสนาและอื่น ๆ แล้ว จะถูกนำาตัวเข้าสู่แดนประหาร ซึ่งในช่วงนี้แทนที่จะเป็นการนำาไปผูกกับ
หลักประหาร ก็เปลี่ยนเป็นการนำาไปสู่เตียงประหารนั่นเอง ทั้งนี้ การเปลี่ยนจากการประหารชีวิต
โดยการยิงเป้ามาเป็นการฉีดยานั้น ทำาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากนัก เพราะสามารถ
ใช้ห้องประหารในเรือนจำากลางบางขวางเช่นเดิม หาฉากกั้น จัดหาเตียง และสายหนังรัด และจัด
อุปกรณ์เข็มและเครื่องฉีดยาเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายในการประหารแต่ละครั้ง โดยเฉพาะค่ายาจะถูกกว่า
ค่ากระสุนปืน (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
ทิศท�งแนวโน้มของก�รประห�รชีวิตในประเทศไทย
จำานวนผู้ถูกประหารชีวิตจำาแนกตามประเภทคดีระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๔๗ ปรากฏว่า
ผู้ถูกประหารชีวิตโดยส่วนใหญ่กระทำาผิดในคดีที่เกี่ยวข้องกับความผิดต่อชีวิตและร่างกาย จำานวน
๑๒๘ คน ในขณะที่ผู้กระทำาผิดด้วยคดีที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติยาเสพติดมีจำานวนเพียง ๒๕ คน
หากแต่ในปัจจุบันมีจำานวนผู้ต้องโทษประหารชีวิตด้วยคดีที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติยาเสพติด
เพิ่มขึ้นเป็นจำานวนมาก ดังจะเห็นได้จากจำานวนผู้ต้องโทษประหารชีวิตใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้เพิ่มขึ้น
เป็นจำานวนมากถึง ๔๒๓ คน หรือ ร้อยละ ๔๙.๙ ของผู้ต้องโทษประหารชีวิตทั้งหมด อันแสดงให้เห็นถึง
จำานวนผู้กระทำาผิดในคดียาเสพติดที่มีมากขึ้น และได้แสดงให้เห็นถึงทิศทางแนวโน้มของการใช้โทษ
ประหารชีวิตในสังคมไทย ที่ได้ให้ความสำาคัญกับการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งทิศทาง
แนวโน้มการใช้โทษประหารชีวิตในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตได้เน้นการใช้โทษประหารชีวิต
กับผู้กระทำาผิดในคดียาเสพติดมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้งคนในสังคม
ให้มีความเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับจากการกระทำาผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (โทษประหารชีวิต
ในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่ยังมีกระบวนการ
หรือขั้นตอนที่ช่วยในการระงับยับยั้งหรือจำากัดโทษดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม
และสิทธิมนุษยชนอยู่มาก เช่น การขอพระราชทานอภัยโทษภายหลังถูกพิพากษา การงดเว้น
การประหารหญิงมีครรภ์ก่อนคลอดบุตร รวมทั้งการพิจารณาของศาลมีการนำาคุณงามความดี
หรือการให้การที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดีมาพิจารณาร่วมด้วย เป็นต้น ทำาให้การประหารชีวิตจริงๆ
ในประเทศไทยเกิดขึ้นน้อย (โทษประหารชีวิตยับยั้งอาชญากรรมได้หรือไม่, ๒๕๕๑)
สรุปได้ว่า วิวัฒนาการของการลงโทษประหารชีวิตในประเทศไทยไม่ได้มีความแตกต่าง
จากวิวัฒนาการของการลงโทษประหารชีวิตในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากนัก โดยรูปแบบของการ
ลงโทษประหารชีวิตในอดีตเน้นการประหารที่มีความรุนแรง หรือทรมานผู้ต้องโทษประหาร เพื่อเป็น
การแก้แค้นทดแทนและการข่มขู่ยับยั้ง ดังเช่นรูปแบบของการประหารชีวิตของประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลก หากแต่ปัจจุบันรูปแบบของการประหารชีวิตได้เปลี่ยนแปลงเป็นการประหารชีวิตที่เน้นหลัก
สิทธิมนุษยชน และตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำาผิดมากขึ้น
44 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ