Page 165 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 165
บทวิเคร�ะห์ บ
ทที่ ๔
จากการทบทวนวรรณกรรมและข้อมูลเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต ทำาให้สามารถ
วิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับ “โทษประหารชีวิตในประเทศไทย” ได้ดังนี้
๔.๑ แนวคิดและรูปแบบของก�รใช้โทษประห�รชีวิต ตั้งแต่
อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สำาหรับแนวคิดและรูปแบบของการใช้โทษประหารชีวิตตั้งแต่อดีตจนกระทั่ง
ถึงปัจจุบันของประเทศโดยส่วนใหญ่ รวมทั้งประเทศไทย ประกอบด้วย
การประหารชีวิตผู้กระทำาผิดในอดีตมักเกิดจากแนวคิดของวัตถุประสงค์
ในการลงโทษที่เน้นการแก้แค้นทดแทนเป็นสำาคัญ อันส่งผลให้การประหารชีวิตมีรูปแบบ
ที่โหดร้ายทารุณ เนื่องจากต้องการให้ผู้กระทำาผิดได้รับโทษที่สาสมกับโทษทัณฑ์ที่ได้
กระทำาไว้กับเหยื่ออาชญากรรม หากแต่เมื่อสังคมพัฒนามากขึ้นแนวคิดของการใช้
โทษประหารชีวิตเพื่อแก้แค้นทดแทนได้ลดน้อยลง โดยการใช้โทษประหารชีวิตมีวัตถุ
ประสงค์ที่สำาคัญนอกเหนือจากการแก้แค้นทดแทน คือ การป้องปรามสังคมไม่ให้เกิด
อาชญากรรม โดยการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อเป็นการข่มขวัญยับยั้งผู้ที่คิดจะกระทำาผิด
อันเป็นการข่มขวัญยับยั้งเฉพาะบุคคล และการข่มขวัญยับยั้งทั่วไป อันเป็นการข่มขวัญ
ยับยั้งบุคคลทั่วไปในสังคมให้เกิดความเกรงกลัวต่อการกระทำาผิด หรือการประกอบ
อาชญากรรม นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ที่สำาคัญอีกประการหนึ่งของการใช้โทษประหาร
ชีวิต คือ การตัดโอกาสผู้กระทำาผิดออกจากสังคม อันเป็นการทำาให้อาชญากร หรือ
ผู้กระทำาผิดไม่มีโอกาสที่จะกระทำาผิดในสังคมได้อีกต่อไป
152 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ