Page 109 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 109
กฎหม�ยตร�ส�มดวง
กฎหมายตราสามดวงเป็นกฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมา พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงชำาระแก้ไขและรวบรวมไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๓ (ปรีชา ช้างขวัญยืน
และคณะ, ๒๕๕๑ น. ๗๕) ได้มีการกำาหนดโทษไว้ ๖ สถาน ได้แก่
๑) โทษฆ่าให้ตาย
๒) โทษจำาคุก
๓) โทษปรับ
๔) โทษทวนหรือโทษโบย
๕) โทษริบทรัพย์สิน
๖) โทษทรมานร่างกาย การประจาน และการตัดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของ
ร่างกาย
โทษฆ่าให้ตายเป็นโทษที่ใช้สำาหรับผู้กระทำาผิดอย่างร้ายแรง กระทบกระเทือน
ต่อความสงบสุขของบ้านเมือง และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่น ความผิดเกี่ยวกับการเป็นกบฏ
ต่อแผ่นดินหรือต่อพระมหากษัตริย์ ความผิดเกี่ยวกับการลักช้าง ม้า วัว ควายที่เป็นของหลวง
ความผิดวิวาทถึงขั้นทำาร้ายร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และทำาร้ายร่างกาย เป็นต้น
กฎมณเฑียรบ�ล
กฎมณเฑียรบาลเป็นกฎหมายคล้ายรัฐธรรมนูญในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความ
เกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ ตลอดจนเสถียรภาพและความปลอดภัยของพระองค์และพระบรม
มหาราชวัง โดยกำาหนดเรื่องการลงโทษบรรดาพระราชวงศ์และลูกหลวง อันแตกต่างไปจากกฎหมายที่
บังคับใช้กับราษฎรทั่วไป เป็นอาญาที่กำาหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อให้สมกับพระราชอิสริยศักดิ์ เช่น ถ้ากระทำา
อันกฎหมายบัญญัติให้ต้องโทษหนักถึงสิ้นชีวิต ต้องประหารด้วยวิธีตีด้วยท่อนจันทน์ และลงขุม
ดังกำาหนดไว้ในกฎมลเฑียรบาล บทที่ ๑๗๕ และ ๑๗๖
กฎหม�ยลักษณะอ�ญ� ร.ศ. ๑๒๗
ในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการใช้กฎหมายตราสามดวงตลอดมา
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำาระ
เปลี่ยนแปลงกฎหมายตราสามดวงใหม่ และใช้ชื่อเรียกเป็นทางการว่า “กฎหมายราชบุรี” ต่อมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงได้ตรวจชำาระและร่างขึ้นมาเป็นกฎหมายอาญาเป็นครั้งแรก ซึ่งได้ประกาศใช้
เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗) โดยกำาหนดโทษไว้ ๖ สถาน ดังที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๑๒ ดังนี้
สถานที่หนึ่ง ให้ประหารชีวิต
สถานที่สอง ให้จำาคุก
96 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ