Page 108 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 108

ต้องมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของตนเอง  มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เฉกเช่น
                     เดียวกัน  ซึ่งรัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์และสิทธิเหนือกว่ากฎหมายอื่นใด  และได้มี

                     การบัญญัติประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เป็นหลักประกันของปวงชนชาวไทย  การคงไว้

                     ซึ่งโทษประหารชีวิตของกฎหมายฉบับอื่น ๆ จึงเป็นการคงไว้ซึ่งกฎหมายที่มีความขัดแย้งต่อหลักการ
                     ของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยโทษประหารชีวิตไม่ได้มีอิทธิพล
                     เพียงการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น  หากแต่โทษประหารชีวิตยังคงเป็นการขัดแย้ง

                     ต่อหลักการสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคน  เพราะการใช้โทษประหารชีวิตเป็นการทำาลายชีวิต

                     ของผู้กระทำาผิด อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนและการไม่เคารพในศักดิ์ศรี
                     ความเป็นมนุษย์แต่ประการใด
                                     จากข้อกำาหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐

                     ดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  รัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับนี้มีการพัฒนาเพื่อคุ้มครอง

                     สิทธิมนุษยชนของประชาชนชาวไทยมากขึ้น  รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำาผิดที่จะไม่ต้อง
                     ได้รับโทษที่มีความโหดร้ายทารุณ เพื่อความเจริญที่เทียบเท่าอารยะประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย
                     ได้มีการกำาหนดการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในกฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้อง  จึงมีความขัดแย้งต่อ

                     รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ดังนั้น แนวทางในอนาคตที่เหมาะสมของประเทศไทย

                     อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่มีความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่กำาหนดไว้ คือ
                     การยกเลิกโทษประหารชีวิต



                             ๒.๔.๗ กฎหม�ยที่บัญญัติโทษประห�รชีวิต

                                     กฎหม�ยที่บัญญัติเกี่ยวกับโทษประห�รชีวิตในประเทศไทยมีวิวัฒน�ก�ร ดังนี้
                                     ในสังคมไทยปัจจุบัน  ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษประหารชีวิตจากการ
                     ยิงเป้ามาเป็นการฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกายนักโทษเพื่อลดความทรมานของนักโทษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖

                     เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าไม่สามารถสร้างหลักประกันได้ว่า ผู้ต้องโทษประหาร

                     จะเสียชีวิตจากการถูกยิงทันทีโดยปราศจากความทรมาน เพราะในความเป็นจริงแล้วการยิงเป้านั้น
                     บ่อยครั้งนักโทษประหารชีวิตมักไม่เสียชีวิตจากการยิงด้วยกระสุนนัดเดียว  และทำาให้นักโทษ
                     ประหารชีวิตต้องทุรนทุรายด้วยความทรมานอย่างแสนสาหัสกับบาดแผลก่อนจะถูกสังหาร

                     ด้วยกระสุนนัดต่อมา

                                     โทษประหารชีวิตนั้นไม่ใช่โทษที่เพิ่งถูกบัญญัติในช่วงสังคมสมัยใหม่  หากแต่
                     เป็นโทษที่ถูกบัญญัติเอาไว้ในสังคมไทยอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในกฎหมายตราสาม
                     ดวง กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ และเรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน โดยสามารถลำาดับวิวัฒนาการ

                     ของโทษประหารชีวิตได้ ดังนี้











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 95
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113