Page 107 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 107

ม�ตร� ๓๐  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตาม
                  กฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

                                  การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่น

                  กำาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะ
                  ทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเชื่อทางศาสนา  การศึกษาอบรม  หรือความคิดเห็นทางการเมือง
                  อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำามิได้

                                  มาตรการที่รัฐกำาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้

                  สิทธิ  และเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น  ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
                  ตามวรรคสาม
                                  ม�ตร� ๓๒  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

                                  การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม

                  จะกระทำามิได้  แต่การลงโทษตามคำาพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่า
                  เป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
                                  อีกทั้งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แสดงออกอย่างชัดเจนในการต่อต้าน

                  และยกเลิกโทษประหารชีวิต  เพราะหากนำารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญ

                  แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  จะพบว่า  คำาว่า  “ประหารชีวิต”  ได้ถูกละทิ้งไปใน
                  รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าแม้แต่ในรัฐธรรมนูญเองก็ยังแสดงออกถึงการปฏิเสธ
                  โทษประหารชีวิตอย่างมีนัยยะ ดังที่คำาๆ นี้ไม่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญอีกต่อไป




                                  อย่างไรก็ตาม  จากกฎหมายไทยซึ่งได้มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง
                  นับตั้งแต่อดีตกาล จุดเริ่มต้นของโทษประหารชีวิตมีมาจากกฎหมายตราสามดวง และได้รับการพัฒนา
                  ตลอดมา  มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของโทษให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมของแต่ละยุคสมัย

                  จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยได้เปลี่ยนวิธีการลงโทษประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาสู่

                  การฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีหลักการเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากการประหารชีวิตแบบ
                  เก่า ๆ รวมทั้งการตอบสนองต่อกระแสการให้ความคุ้มครองต่อสิทธิมนุษยชน
                                  แต่ประเทศไทยได้มีการกำาหนดการใช้โทษประหารชีวิตตามประมวลกฎหมาย

                  อาญา มาตรา ๑๙ อันแสดงให้เห็นถึงกฎหมายมาตรานี้อาจไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความคุ้มครอง

                  สิทธิมนุษยชนของประชาชนเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  ดังจะเห็นได้จาก
                  รัฐธรรมนูญ  ฉบับพุทธศักราช  ๒๕๔๐  และ  ๒๕๕๐  ที่ได้แสดงเจตจำานงต่อสิทธิและเสรีภาพ
                  ของปวงชนชาวไทย โดยมีการบัญญัติหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย อันเป็นหลักประกัน

                  ในความเสมอภาคและการได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงบุคคลทุกคน











         94    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112