Page 101 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 101

100


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                           ในช่วงเวลาการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นสหราชอาณาจักรมีความต้องการ
                  เพียงเพื่อยืนยันอำานาจในการตีความเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งนับตั้งแต่สิ้น
                  สงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรได้มีบทบาทสำาคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยระบบของ
                  สภาแห่งยุโรป  ๒๑๒  (Council of Europe) แต่ระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร

                  โดยสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะศาลของอังกฤษที่ตีความกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  ไม่สอดคล้องกับระบบของสภาแห่งยุโรป  ดังนั้น การดำาเนินการครั้งสำาคัญขั้นแรกของสหราชอาณาจักร
                  คือ การประมวลสิทธิมนุษยชนให้เป็นลายลักษณ์อักษรของบทบัญญัติ (codify) ขึ้น  ๒๑๓   ทั้งนี้เนื่องจาก
                  ระบบกฎหมายของสหราชอาณาจักรเป็นระบบคอมมอนลอว์ (Common law) หรือกฎหมายจารีต

                  ประเพณีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และระบบกฎหมายของสหราชอาณาจักรถือว่ากฎหมายภายใน
                  ประเทศกับกฎหมายระหว่างประเทศเป็นคนละระบบหรือที่เรียกว่าทวินิยม (Dualism) แม้รัฐบาล
                  ลงนามในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป แต่อนุสัญญานั้นยังไม่ผูกพันองค์กรต่างๆ ในประเทศ จนกว่า
                  จะมีการแปลงให้เป็นกฎหมายภายใน เช่น ตรากฎหมาย หรือออกระเบียบ กฏ หรือแนวปฏิบัติ

                           เมื่อมีพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๑ บังคับใช้มาระยะหนึ่ง สหราชอาณาจักร
                  เห็นความจำาเป็นในการยกระดับสิทธิมนุษยชนขึ้นเป็นนโยบายสาธารณะที่สำาคัญระดับเสาหลัก
                  ของชาติ จึงผลักดันพระราชบัญญัติความเสมอภาคทางโอกาส พ.ศ. ๒๕๔๙ (Equal Opportunities

                  Act 2006)  ๒๑๔  ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง  พร้อมทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการความเสมอภาคทางโอกาส
                  พระราชบัญญัตินี้หากอ่านเพียงอารัมภบทจะเห็นว่า มีความสำาคัญน้อยและมีวัตถุประสงค์ที่แคบ
                  คือ การยุบรวมและจัดองค์กรใหม่ แต่บทมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติ และหลักฐานที่เกิดขึ้นจาก

                  การดำาเนินงานของคณะกรรมการ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชนได้สร้างมิติใหม่ที่เป็นการ  “ปฏิรูป”
                  องค์กรต่างๆ ของสหราชอาณาจักร  กล่าวคือ  การเข้าสู่การสร้างสังคมที่มีวัฒนธรรมการเคารพ
                  สิทธิมนุษยชนในทุกแง่มุมของบริการสาธารณะของรัฐ  ภารกิจที่สำาคัญเร่งด่วนและต่อเนื่องของ
                  คณะกรรมการความเสมอภาคทางโอกาสนี้ จึงเป็นการแก้ไขสิ่งที่ขัดหรือแย้งกับ  “การเคารพสิทธิมนุษยชน”
                  กับ  “การปฏิบัติราชการ”  ซึ่งเป็นที่มาที่สำาคัญของการพัฒนา และนำามาบังคับใช้อย่างทั่วถึง ซึ่ง

                  “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Measurement Framework)”  ๒๑๕
                           “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน” ของสหราชอาณาจักรเกิดจากการทบทวนพัฒนาการตัวชี้วัด

                  สิทธิมนุษยชนที่พัฒนาโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The United
                  Nations Office of the High Commissioner for Human Rights: OHCHR)  ๒๑๖
                           นอกเหนือจาก “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน”  คณะกรรมการความเสมอภาคและ

                  สิทธิมนุษยชนแห่งสหราชอาณาจักรยังได้พัฒนา “กรอบการวัดความเสมอภาค” ซึ่งเป็นความพยายาม
                  ในการแก้ไขความไม่เสมอภาคของสังคมอังกฤษ โดยเจาะลึกในรายละเอียดเกือบทุกเรื่อง เพื่อ
                  การบรรลุเป้าหมายการเป็น “สังคมวัฒนธรรมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน”  ๒๑๗



                  ๒๑๒   ibid.
                  ๒๑๓   ibid.
                  ๒๑๔   Equality Act 2006, [online] http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2006/3. สืบค้น ๕ สิงหาคม ๒๕๑๒
                  ๒๑๕   ibid.
                  ๒๑๖   Office of the High Commissioner for Human Rights, Report on Indicators for Promoting and Monitoring
                      the Mmplementation of Human Rights, UN Doc. HRI/MC/2008/3, 6 June 2008.
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106