Page 102 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 102

101


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                              ๔.๒.๑.๑  วัตถุประสงค์ของกรอบก�รวัดสิทธิมนุษยชน

                                       ดังได้กล่าวข้างต้น ความตระหนักถึงปัญหาในหลักการ และกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                     มาใช้ในสหราชอาณาจักรมีมานานแล้ว  ทั้งนี้เนื่องจาก แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะได้ลงนามและให้
                     สัตยาบันอนุสัญญาและสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับมาเป็นเวลาช้านาน นั่นคือ หลังจาก
                     สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองใหม่ๆ  ตลอดจนมีกฎหมายสิทธิมนุษยชนโดยตรงของประเทศ

                     แล้วก็ตาม เป้าหมายของการมีตราสารสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิทธิมนุษยชนก็ยังคงมีข้อจำากัด
                     นั่นคือ ยังไม่สามารถขยายการบังคับใช้ ความเข้าใจ และความเคารพให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางใน

                     สังคมไม่  ๒๑๘   จึงมีการหารือระหว่างนักคิด นักวิจัย อาจารย์ในมหาวิทยาลัย และนักปฏิบัติงานด้าน
                     สิทธิมนุษยชนชั้นนำาของประเทศ และได้ความเห็นชอบตรงกันว่า จำาเป็นต้องมี   “ตัวชี้วัด”  ที่เกี่ยวข้อง
                     กับการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ โดยผ่านการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐทั้งหลาย
                     ด้วยกรอบความคิดเช่นนี้ ตัวชี้วัดที่จะได้จึงมีลักษณะต่างไปจากตัวชี้วัดด้านอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจาก

                     เป้าหมายของการมีตัวชี้วัด มีตั้งแต่การเคารพสิทธิในเชิงแคบ ไปจนถึงการมี “วัฒนธรรม” การเคารพ
                     สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเป้าหมายขั้นสุดท้ายของตราสาร  และการดำาเนินงานต่างๆ ตามหลักการใน

                     ตราสารสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนของประเทศ
                                       ๑)  เพื่อสร้างเครื่องมือในการวัดการดำาเนินงานตามพันธกรณีและความก้าวหน้า
                                          ความสำาเร็จผลที่ได้เกิดขึ้นแล้วในการวัดการดำาเนินงานตามพันธกรณี

                                          ของสหราชอาณาจักรที่สามารถเชื่อถือได้และมีลักษณะเชิงภาวะวิสัย  ๒๑๙

                                       ๒)  เพื่อให้ความเห็นเชิงข้อมูลแก่หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน  ทั้ง
                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของสหราชอาณาจักร หน่วยงานต่างๆ
                                          ของรัฐ  องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน  และองค์กรอื่นๆ

                                          ในการที่จะจัดลำาดับความสำาคัญก่อนหลังในการดำาเนินงานต่างๆ
                                          ของหน่วยงาน  ๒๒๐

                                       ๓)  เพื่อการบรรลุเป้าหมายความรับผิดชอบทางกฎหมายที่กำาหนดไว้กับ
                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของสหราชอาณาจักร   ๒๒๑




                     ๒๑๗   Sabina Alkire, et al. “Developing the Equality Measurement Framework : selecting the indicators, Research
                         report 31, Equality and Human Rights Commission 2009. [online] Available at http://www.equalityhumanrights.com/
                         uploaded_files/emf/front_cover,_title_page,_contents_etc.pdf,  (5 August 2011)
                     ๒๑๘   นอกจากนี้  ยังมีเอกสารทางวิชาการที่เผยแพร่และสถาบันการศึกษาส�าคัญด้านสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร
                         ทั้งเอกสารการวิจัย บทความทางวิชาการ การจัดตั้งกลุ่มนักวิชาการ เพื่อศึกษาและก�าหนดท่าทีทางด้านสิทธิมนุษยชน
                         ของสหราชอาณาจักร (เช่น ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และ London School of Economics and Political Science (LSE)
                                         ่
                         ที่จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างสม�าเสมอเป็นจ�านวนมาก โดยได้เสนอทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของประเทศ ซึ่งคณะผู้ศึกษาเห็นว่า
                         มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการก�าหนดนโยบายสาธารณะด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร และการเสนอแนะ
                         ต่อการปฏิรูประบบการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของยุโรปในกรอบของ  Council  of  Europe  โดยฝ่ายสหราชอาณาจักร
                         อย่างส�าคัญด้วย
                     ๒๑๙   ibid. p. 7.
                     ๒๒๐   ibid. p. 8.
                     ๒๒๑   ibid.
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107