Page 100 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 100

99


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                  ๔.๒  การพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ


                            เหตุผลในการเลือกศึกษาของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐ
                     ฟิลิปปินส์ อยู่บนแนวคิดว่าการเปรียบเทียบการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ควรพิจารณาประเทศที่อยู่

                     ในภูมิภาคเดียวกันและมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในด้านสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
                     ซึ่งควรจะใช้ประเทศในกลุ่มอาเซียน  อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเบื้องต้น คณะผู้ศึกษาพบว่า
                     ประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้ริเริ่มจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น เอกสารการรายงานสถานการณ์

                     สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศก็จัดทำาด้วยภาษาประจำาชาติ ซึ่งยากต่อการเข้าถึงเอกสารเหล่านั้น

                            ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้ศึกษามีความเห็นว่า หลักในการเลือกประเทศที่ใช้ศึกษา
                     เปรียบเทียบควรพิจารณาจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และระดับปัญหา
                     สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงเอกสารเป็นสำาคัญ ซึ่งแบ่งเป็นสองระดับ คือ


                            หนึ่ง ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และระดับปัญหา

                                สิทธิมนุษยชนคล้ายคลึงกับประเทศไทย  โดยเลือกการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
                                ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มาศึกษาเปรียบเทียบ

                            สอง  ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ก้าวหน้ากว่าประเทศไทย

                                และมีระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้น  คณะผู้ศึกษา
                                ได้เลือกสหราชอาณาจักรเป็นตัวแบบในการเปรียบเทียบ  การที่เลือกเปรียบเทียบกับ

                                ประเทศที่มีระบบการคุ้มครองที่มีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศไทยอยู่บนแนวคิดที่ว่า
                                รูปแบบที่ศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางหรือแบบอย่างในการนำามาปรับใช้ให้เข้ากับ
                                สภาพสังคมไทย เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



                     ๔.๒.๑  สหราชอาณาจักร

                              สหราชอาณาจักรเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำาคัญกับการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                     การทำาความเข้าใจกับลักษณะเฉพาะของระบบการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร
                     เป็นปัจจัยสำาคัญที่จะช่วยให้เข้าใจ และนำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนไปใช้ได้อย่างเหมาะสม  ๒๑๐

                              จากการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร การเฝ้าสังเกต และติดตามสถานการณ์การส่งเสริมและคุ้มครอง
                     สิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักรพบว่า ในช่วงกว่าสองทศวรรษมานี้ ผู้กำาหนดนโยบายและฝ่ายการเมือง
                     ของสหราชอาณาจักรให้ความสำาคัญ และมีความพยายามในเชิงรุกที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

                     อย่างมีนัยสำาคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะที่สำาคัญ
                     และเป็นเสาหลักของชาติ ดังจะเห็นได้จากการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๑
                     (Human Rights Act 1998) ขึ้น  ๒๑๑




                     ๒๑๐   Jean Candler, Sanchita Hosali, Tiffany Tsang and Polly Vizard, Developing a Human Rights Measurement
                         Framework (HRMF), Background Briefing Paper for specialist consultation on the human rights measurement
                         framework (HRMF), 2010. (online)  http://personal.lse.ac.uk/prechr/hrmf/HRMF_background.pdf
                     ๒๑๑   ibid.
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105