Page 307 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 307
คณะรัฐมนตรีได้มีค าสั่งหรือมติเด็ดขาดแล้ว และหรือเรื่องราวที่ผู้เสนอเรื่องอ้างว่าได้รับความ
เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการถูกลงโทษทางวินัยตามกฎหมาย
จากการศึกษาข้อมูลของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (2542 : 120-121)
กล่าวถึง การยื่นค าร้องทุกข์ ต้องระบุรายละเอียดดังนี้
-ต้องท าเป็นหนังสือและต้องมีรายละเอียดตามที่กฎหมายก าหนดไว้
-มีชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์
-ระบุเรื่องที่จะร้องทุกข์ให้เข้าใจข้อเท็จจริงได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความเดือดร้อน
อย่างไร และต้องการให้แก้ไขหรือด าเนินการอย่างไร
-ลงลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์
5.5.9 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์
เมื่อรับเรื่องร้องเรียนแล้ว กรณีที่เลขาธิการฯ เห็นสมควรให้แต่งตั้งคณะกรรมการ
สอบสวนข้อเท็จจริงหรือมอบหมายให้ผู้ใดตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ส านักอ านวยการด าเนินการ
ตามค าสั่งนั้น (ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2542 : 120 - 121)
1. ให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ได้รับแต่งตั้ง มีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริง
ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงว่าเรื่องร้องเรียนมีมูลความจริงหรือไม่เพียงใด โดย
ให้ด าเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งท าความเห็นเสนอเลขาธิการฯ ว่ามีการกระท าทุจริต
และประพฤติมิชอบเกิดขึ้นหรือไม่ และเป็นการกระท าทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดขึ้นหรือไม่
และเป็นการกระท าผิดวินัยหรือไม่ หากเป็นกรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาให้เสนอความเห็นต่อเลขา
ธิการฯ และยุติเรื่อง
2. ในการพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงให้ด าเนินการอย่างลับ และต้องเปิดโอกาสให้
เจ้าหน้าที่ผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรม
3. ให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนต่อเลขาธิการฯ ภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง หากมีเหตุผลความจ าเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ คณะกรรมการฯ
อาจเสนอขอขยายระยะเวลาด าเนินการต่อเลขาธิการฯ โดยเสนอขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสอง
ครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
4. เมื่อมีการด าเนินการในเบื้องต้นเป็นประการใด ให้ส านักอ านวยการแจ้งให้ผู้ร้องเรียน
ทราบภายในเวลาสิบห้าวัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ร้องเรียนไม่ให้ข้อมูลที่สามารถติดต่อกลับไปยังผู้
ร้องเรียนได้
- 258 -