Page 305 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 305
5.5.6 แผนผังการด าเนินงานเรื่องราวร้องทุกข์
เมื่อส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับเรื่องร้องทุกข์แล้วเจ้าหน้าที่ของส านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกาจะท าการสอบสวนรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจัดท าเป็นบันทึก
สรุปส านวนเสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะตรวจสอบ
ข้อเท็จอีกครั้งหนึ่งโดยให้โอกาสผู้ร้องทุกข์และหน่วยงานของรัฐชี้แจงแสดงพยานหลักฐานของตน
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ครบถ้วนอีก
ด้วยหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็น “พนักงาน
ผู้รับผิดชอบส านวน” จะท า “ค าแถลงการณ์” โดยให้ความเห็นอิสระทั้งในด้านข้อเท็จจริงและข้อ
กฎหมายเป็นการชี้ขาดเบื้องต้น คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะพิจารณา “ค าแถลงการณ์” และ
ปรึกษาหารือเป็นองค์คณะเพื่อลงมติมีค าวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องร้องทุกข์นั้นต่อไป และเสนอ
นายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการหากนายกรัฐมนตรีไม่เห็นด้วยจะต้องให้เหตุผลของการสั่งการไว้ด้วย
(ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ม.ป.ป. : 8))
แผนภาพที่ 5.36 แสดงขั้นตอนการด าเนินเรื่องร้องทุกข์
ผู้ร้องทุกข์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
เลขานุการหรือนิติกรผู้ท าส านวน
คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (พิจารณา)
พนักงานผู้รับผิดชอบส านวน
คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (วินิจฉัย)
นายกรัฐมนตรี (สั่งการ)
ที่มา: ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2540, คู่มือการ้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และคณะกรรมการวินิจฉัย
ร้องทุกข์ภูมิภาค
- 256 -