Page 245 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 245
5.3.10 การตรวจสอบ และไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
กรณีที่ได้พิจารณาสอบสวนแล้วพบว่าหน่วยงานหรือข้าราชการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎระเบียบ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ไม่เสมอภาคกันใน
กฎหมาย หรือล้าสมัย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจะแจ้งหน่วยงานแก้ไข (พิเชต สุนทรพิพิธ,
2546 : 70-71)
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้มีนโยบายในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยมุ่งเน้นการ
เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้คู่กรณีตกลงกันได้อย่างสันติวิธี ซึ่งจะเป็นวิธีลดความตึงเครียดใน
การเผชิญหน้ากันและสามารถประสานความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและหน่วยงานราชการได้
เป็นอย่างดี ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยมีดังนี้ (ณัฐฐา มูนจินดา, 2547 : 69-70)
-ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีหนังสือถึงผู้ถูกร้อง พร้อมทั้งมอบหมายให้
เจ้าหน้าที่ของส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเดินทางไปตรวจสถานที่พิพาทและร่วม
ั
ประชุมหารือเพื่อหาทางยุติปญหากรณีพิพาทด้วยสันติวิธีกับผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง
-เจ้าหน้าที่ของส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเจรจาไกล่เกลี่ยจนทั้งผู้
ร้อง และผู้ถูกร้องสามารถตกลงกันได้ แล้วท าบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องจะเป็นที่
พอใจ
-ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องติดตามว่าผู้ถูกร้องได้ด าเนินการตามที่ได้
แนะน าหรือตกลงกันไว้หรือไม่ หากไม่ด าเนินการตามนั้นและผู้ร้องยังร้องเรียนอีก ผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภาก็จะต้องรายงานต่อรัฐมนตรีที่ควบคุมดูแลหน่วยงานนั้นๆ หรือรายงานต่อ
นายกรัฐมนตรีเพื่อสังการต่อไป
5.3.11 การสรุปและด าเนินการแก้ปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (2547 : 110-117) อธิบายถึงการสรุปและด าเนินการ
ั
แก้ปญหาเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไว้ดังนี้
มาตรา 30 เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงใน
เรื่องใดเสร็จแล้ว ให้จัดท ารายงานสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะในการ
ปรับปรุงแก้ไขส่งให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่
เกี่ยวข้องเพื่อทราบหรือพิจารณาด าเนินการต่อไป
เรื่องใดที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ปรากฏว่าการกระท าใน
เรื่องใดของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือของราชการส่วนท้องถิ่นได้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี
- 200 -