Page 243 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 243
มาตรา 26 เรื่องใดที่ไม่ให้รับไว้พิจารณาตามมาตรา 24 และเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของ
รัฐสภาอาจไม่รับพิจารณาตามมาตรา 25 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจะส่งเรื่องนั้นไปให้หน่วย
ราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อด าเนินการ
ต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
5.3.9 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์
เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภารับเรื่องไว้พิจารณาแล้วจะต้องด าเนินการโดยไม่ชักช้า
และเปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียนชี้แจงแสดงหลักฐานตามสมควร โดยสามารถให้
หน่วยงานของรัฐนั้นๆ ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งวัตถุ เอกสาร หลักฐาน หรือให้หัวหน้าหน่วยงาน
นั้นมาให้ถ้อยค า หรือมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งวัตถุ เอกสาร รวมถึงขอให้ศาลส่งวัตถุ
เอกสาร หลักฐานหรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาและการตรวจสอบ
สถานที่ที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีการร้องเรียนโดยแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทราบล่วงหน้าในเวลา
อันสมควร
-เรื่องที่ไม่รับไว้พิจารณาหรือให้ยุติเรื่อง ให้แจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบพร้อมเหตุผล
-เมื่อพิจารณาและสอบสวนเรื่องใดเสร็จแล้ว ให้ท ารายงานสรุปข้อเท็จจริงพร้อม
ทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขส่งให้หน่วยราชการทราบเพื่อด าเนินการต่อไป
-เรื่องใดพิจารณาแล้ว ปรากฏว่าการกระท าของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง
ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น กระท าไปตาม
กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือ
ความไม่เสมอกันในกฎหมาย หรือเป็นการเลือกปฏิบัติหรือล้าสมัย ให้เสนอแนะให้หน่วยงานของ
รัฐดังกล่าวด าเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติม แต่ในกรณีมติคณะรัฐมนตรีให้ส่งรายงานให้
คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
-เรื่องที่ไม่อาจสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้ ให้ยุติเรื่องนั้นและให้รายงาน
วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรทราบ
- 198 -