Page 240 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 240
5.3.7 วิธีการยื่นเรื่องร้องเรียน
ตามเอกสารของส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (2555 : 40-41) ระบุไว้ว่า
ผู้มีสิทธิร้องเรียน
บุคคลคณะบุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ตาม
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยไม่ตัดสิทธิผู้ร้องเรียนที่จะด าเนินการตาม
กฎหมายอื่น
รูปแบบการร้องเรียน
1. ด้วยวาจาโดยร้องเรียนทางโทรศัพท์หมายเลข 1676 (โทรฟรีทั่วประเทศ) หรือ
หมายเลข 02-1419100 หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดินศูนย์ราชการ
เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดีชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
2. เป็นหนังสือโดยลงลายมือชื่อผู้ร้องเรียนที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถ
ติดต่อได้ ผู้ถูกร้องเรียนและเหตุที่ร้องเรียนในกรณีที่ผู้ร้องเรียนประสงค์จะปกปิดชื่อผู้ร้องเรียนเป็น
ความลับสามารถแสดงความจ านงในหนังสือร้องเรียนและส่งไปยัง
- ส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดินศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5
ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดีชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสอง
ห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือ ตู้ปณ.333 ปณฝ. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
กรุงเทพฯ 10215 หรือ
- โทรสารหมายเลข 02 1438341 หรือ
- ส่งผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในเขต
พื้นที่ของผู้ร้องเรียนซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับเรื่องร้องเรียนที่อาคารรัฐสภา
ในช่วงเปิดสมัยประชุมสภาด้วย
- ร้องเรียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.ombudsman.go.th
3. ร้องเรียนผ่านเครือข่ายของผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แก่ สภาทนายความและ
ส านักงานสาขาของสภาทนายความทั่วประเทศ หรือส านักงานอัยการสูงสุดและส านักงานคุ้มครอง
สิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ส านักงานอัยการจังหวัดทั่วประเทศ
4. กรณีที่คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะกรรมาธิการของ
วุฒิสภาได้สอบสวนหรือพิจารณาเรื่องใดและเห็นว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของผู้ตรวจการ
แผ่นดินที่จะด าเนินการได้คณะกรรมาธิการจะส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาด าเนินการ
และแจ้งผลต่อคณะกรรมาธิการ
- 195 -