Page 213 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 213

กระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อองค์การเอกชนดังกล่าวได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็น

                  ว่ากรณีมีมูลก็อาจเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด าเนินการตรวจสอบต่อไปได้

                         องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่มีสิทธิรับเรื่องร้องเรียน พิจารณารวบรวมข้อมูล

                  เบื้องต้นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยื่นค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  ให้มีการตรวจสอบได้นั้นต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดย

                  อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายก าหนด

                         พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง

                  และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรับรององค์การ

                  เอกชนด้านสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2542 ได้ก าหนดคุณสมบัติขององค์การที่ประสงค์จะให้

                  คณะกรรมการรับรองการเป็นองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนไว้หลายประการ ดังต่อไปนี้

                         1.  ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย

                         2.  มีวัตถุประสงค์และการด าเนินกิจการเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมและคุ้มครอง

                  สิทธิมนุษยชน
                         3.  มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และมีผลการ

                  ด าเนินงานที่เป็นประจักษ์

                         4. ไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการเมือง หรือมุ่งค้าหาก าไรจากการด าเนินกิจการ และ

                         5.  ไม่มีวัตถุประสงค์และการด าเนินการเพื่อประโยชน์เฉพาะสมาชิกของกลุ่มตนเอง



                         5.2.9 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์

                         การสืบสวนและสอบสวนข้อเท็จจริง การรับฟังค าชี้แจงและพยานหลักฐาน

                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ถูก

                  กล่าวหาชี้แจงรายละเอียด และเสนอพยานหลักฐานตามสมควรเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ

                  กระท าที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยผู้รับผิดชอบต้องจัดท าบันทึกสรุปเบื้องต้นโดยมีการสรุป

                  ข้อเท็จจริง  ประเด็นที่มีการร้องเรียนและแก้ข้อกล่าวหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเสนอ
                  ความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลต่อคณะกรรมการ

                         ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น หากคู่กรณีต้องมาปรากฎตัวต่อ

                  หน้าคณะกรรมการ คู่กรณีมีสิทธิน าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการ

                  พิจารณาตรวจสอบได้ไม่เกินสองคนซึ่งต้องเป็นทนายความหรือที่ปรึกษาที่ได้แจ้งรายชื่อไว้กับ

                  ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก่อนวันตรวจสอบครั้งแรกเท่านั้น โดยทนายความ





                                                          - 168 -
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218