Page 212 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 212

พิพากษาหรือค าสั่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาแล้วก็ไม่อาจถูกตรวจสอบโดย

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้

                         ดังนั้น อ านาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเกิดขึ้นได้ต้องมี

                  ลักษณะที่ส าคัญ 3 ประการ  ดังต่อไปนี้
                         1)  ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                                  ้
                         2)  ต้องไม่ใช่เรื่องที่มีการฟองร้องหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลทั้งนี้ไม่ว่าจะ
                  เป็นศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง และ

                         3)  ต้องไม่ใช่เรื่องที่ศาลได้เคยมีค าพิพากษาหรือมีค าสั่งในเรื่องนั้นมาโดยเด็ดขาดแล้ว

                         มาตรา  22

                         ในกรณีที่มีการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมิใช่

                                    ้
                  เป็นเรื่องที่มีการฟองร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีค าสั่งเด็ดขาดแล้ว
                  ให้คณะกรรมการมีอ านาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้

                         บุคคลกลุ่มใดบ้างที่มีสิทธิขอตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                         การกระท าหรือการละเลยการกระท าอันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนย่อมถูก

                  ตรวจสอบได้โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามค าร้องที่ยื่นมาโดยบุคคลกลุ่มต่างๆ
                  ดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิยื่นค าร้องขอให้มีการตรวจสอบซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ

                         1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในกรณีที่เห็นว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                  เกิดขึ้นในท้องที่ใด หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการ

                  ละเมิดดังกล่าวก็สามารถริเริ่มการตรวจสอบได้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กระบวนการตรวจสอบการ

                  กระท าที่ลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถเกิดขึ้นได้โดยกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติที่ไปพบเห็นการกระท าที่มีลักษณะดังกล่าว แม้จะไม่มีผู้เสียหายจากการถูกละเมิด

                  ร้องเรียนเข้ามาก็ตาม

                         2. บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ท าการแทน  เมื่อการกระท าหรือการละเลย

                  การกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก่อความเดือดร้อนเสียหายขึ้นแก่บุคคลใด บุคคลนั้น
                  ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้มีการตรวจสอบการ

                  ละเมิดและช่วยแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้แก่ตนเอง บุคคลที่ถูกกระท าละเมิดจึงเป็นบุคคล

                  กลุ่มแรกที่มีสิทธิยื่นค าร้องให้มีการริเริ่มตรวจสอบการกระท าหรือการละเลยการการท าดังกล่าว

                         3. องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ในกรณีที่มีการร้องเรียนจากผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิ

                  มนุษยชนหรือในกรณีที่ปรากฏแก่องค์การเอกชนดังกล่าวเองว่ามีการกระท าหรือการละเลยการ





                                                          - 167 -
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217