Page 111 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 111
4.2.2 ที่มา/เหตุผลในการจัดตั้งองค์กร
Hart (2010) สรุปเกี่ยวกับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนของยุโรป
คือ สมาพันธ์ยุโรป ว่าก่อตั้งขึ้นในปี 1949 ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจ านวน 47 ประเทศใน
ทวีปยุโรป มีหน่วยงานที่ดูแลและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นหลักอยู่ 2 หน่วยงานด้วยกัน คือ
คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชน (The Commissioner for Human right) จัดตั้ง
อย่างเป็นทางการในปี 1999 มาตรา 19 แห่งอนุสัญญาฯ ได้ระบุให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิ
มนุษยชนขึ้น โดยมีอ านาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาข้อผูกพันต่างๆ ระหว่างรัฐภาคี
ั
คณะกรรมาธิการ มีหน้าที่ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ให้ความรู้และปลูกฝงแต่กลุ่มประเทศ
สมาชิก นอกจากนี้ยังมีการเดินทางไปประเทศสมาชิกต่างๆ เพื่อตรวจสอบและประเมิน
สถานการณ์ทางด้านสิทธิมนุษยชนพร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ แต่ทั้งนี้ไม่มีหน้าที่รับ
เรื่องร้องเรียนจากกลุ่มประเทศสมาชิกแต่อย่างใด
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Rights) แนวคิดในการ
จัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเกิดขึ้นจากคณะมนตรีแห่งยุโรป (Council of Europe) ด้วยเหตุผลที่
จะให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางการเมืองของประชาชนภายในภูมิภาคยุโรป โดย
เหตุผลทางการเมืองเนื่องจากลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายเข้ามาในภูมิภาคยุโรปภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มจากอนุสัญญายุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น
ั
พื้นฐาน ค.ศ. 1950 ซึ่งจัดตั้งศาลขึ้นมาเป็นองค์กรในการรับเรื่องร้องทุกข์ของปจเจกชนในฐานะ
ผู้เสียหาย และรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาโดยในการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปขึ้นมีวัตถุประสงค์
ั
เพื่อพิจารณาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐกับรัฐ และรัฐกับปจเจกชนซึ่งแต่เดิมศาลสิทธิ
มนุษยชนยุโรปเป็นองค์กรท างานควบคู่กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป ต่อมา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีอ านาจหน้าที่ซ ้าซ้อนกับศาลสิทธิมนุษยชน
ยุโรป การจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใหม่เกิดขึ้นตามมาตรา 19 แห่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ค.ศ. 1950 ได้จัดสร้างกลไกในระดับสถาบันขึ้น
เพื่อก าหนดให้ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นศาลประจ าเพื่อองค์กรเดียวที่มีอ านาจรับคดีที่มีการ
ั
ร้องเรียนว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งจากรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาและจากปจเจกชนในฐานะ
ผู้เสียหาย ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับ
หลักการของอนุสัญญาฯ หลักส าคัญของอนุสัญญาสรุปได้ดังต่อไปนี้
- 67 -