Page 108 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 108

ั
                  Enforced or Involuntary Disappearances)  หรืออาจเป็นปจเจกบุคคลซึ่งมีต าแหน่งต่างๆ อาทิผู้
                  เสนอรายงานพิเศษ (Special  Rapporteur)  ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (Special

                  Representative of the United Nation Secretary-General) หรือผู้เชี่ยวชาญอิสระ (Independent

                  Expert) ขณะนี้มีกลไกพิเศษทั้งหมด แบ่งเป็น กลไกพิเศษเพื่อพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
                  รายประเด็น (thematic) เช่นเรื่องสถานการณ์ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (situation on human right

                  defenders) หรือ เรื่องการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (trafficking in person, especially in

                  women  and  children)  และ กลไกพิเศษเพื่อแก้ไขสถานการณ์รายประเทศ (country  specific)

                  เช่น สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า (Situation  of  Human  Rights  in  Myanmar)  และ

                  สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองตั้งแต่ พ.ศ.2510  (situation  of

                  human rights in the Palestinian territories occupied since 1967)

                         กลไกพิเศษมีอ านาจที่จะตรวจสอบ ติดตามให้ค าแนะน า และจัดท ารายงานเกี่ยวกับ

                  สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ หรือในเรื่องต่างๆ โดยกลไกพิเศษอาจได้รับข้อ
                                ั
                  ร้องเรียนจากปจเจกบุคคลต่างๆ ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ซึ่งกลไกพิเศษก็
                  อาจท าการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยท าหนังสือถึงรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอค าชี้แจง

                  นอกจากนั้นกลไกพิเศษดังกล่าวอาจท าเรื่องขอไปเยือนประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบเรื่องที่

                  ได้รับการร้องเรียน ซึ่งหากรัฐบาลของประเทศดังกล่าวให้ความเห็นชอบก็จะท าหนังสือเชิญให้ไป

                  เยือนอย่างเป็นทางการต่อไป

                         วิชาวัฒน์ อิศรภักดี (ม.ป.ป.  : 17 – 18)  ระบุไว้ว่า ภายหลังการเยือนแต่ละครั้งกลไก

                  พิเศษก็ต้องจัดท ารายงานการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมทั้งข้อมูลที่ค้นพบ และข้อเสนอแนะสิ่งที่น่าสนใจ

                  อีกประการหนึ่งก็คือ บุคคลต่างๆ ที่มีต าแหน่งเป็นกลไกพิเศษนี้ ล้วนแล้วแต่ท าหน้าที่ในฐานะ
                  ส่วนตัว โดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลของตน และบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทน

                  แต่อย่างใดจากองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการรักษาความเป็นกลางของตน ซึ่งย่อมแสดงถึง

                  ความเสียสละ และความอุทิศตนของกลไกพิเศษต่างๆ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นจึงอาจถือ

                  ได้ว่ากลไกพิเศษเป็นกลไกหนึ่งขององค์การสหประชาชาติที่มีความส าคัญและมีประสิทธิภาพมาก

                  ที่สุดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกรอบสหประชาชาติ

                         4.1.9 ผลการท างาน

                         จากการค้นคว้าวิจัยของ OHCHR  (2011 : 13-14) ได้กล่าวถึงเรื่องจ านวนของรัฐที่ออก

                  ค าเชิญกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Special  Procedures)  เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี

                  2011 รวม 90 รัฐ เมื่อเทียบกับ เมื่อปลายปี 2010 มีเพียง 78 รัฐ และได้ไปเยือนรัฐเพิ่มขึ้นจากใน
                  ปี 2010 จ านวน 67 รัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 82 รัฐ



                                                          - 64 -
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113