Page 9 - เสียงจากชุมชน : ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง
P. 9
บทที่ 1
ภูมิหลังความเป็นมา
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายตั้งอยู่ในเนื้อที่กว้างกว่า 204.51 ตาราง
กิโลเมตร โดยอยู่ในเขตเกษตรกรรมที่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ และอยู่ห่างจากเมือง
ทวายไปทางเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร ทวายเป็นเมืองหลวงของแคว้นตะนาวศรี
ทางตอนใต้ของประเทศเมียนมาร์ และอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ มาทางตะวันตก
ประมาณ 350 กิโลเมตร
โครงการนี้ถือกําเนิดขึ้นในปี 2551 และการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้น
ฐานบางส่วนในพื้นที่ได้เริ่มขึ้นแล้ว โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายประกอบด้วย
เขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึง ท่าเรือนํ้าลึกและอู่ต่อเรือ โรงกลั่นนํ้ามันครบ
วงจร โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตปุ๋ยเคมีและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานผลิต บทที่ 1
กระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเบา และโรงไฟฟ้า แหล่งพลังงาน
ของนิคมอุตสาหกรรมนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน ในแผนดั้งเดิมของโครงการ
นั้นรวมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ไว้ด้วย แผนการผลิต
พลังงานของโครงการในปัจจุบันนั้นเป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยก๊าซธรรมชาติ
ขนาด 3,000 เมกะวัตต์ จนถึงปัจจุบัน การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับ
รายละเอียดไม่ว่าจะเป็นขนาดหรือว่ารูปแบบของโครงการย่อยต่าง ๆ ยังค่อนข้าง
จํากัด ในขณะที่การก่อสร้างเตรียมความพร้อมของโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว เช่น
การแผ้วถางเพื่อสร้างพื้นที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ “ศูนย์” รวมถึงการทําเหมืองหิน
ท่าเรือขนาดเล็ก ศูนย์เยี่ยมชมโครงการ และเรือนรับรอง
โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนั้นยังขยายออกไปนอกเหนือพื้นที่
เขตเศรษฐกิจพิเศษ ถนนเชื่อมต่อระหว่างประเทศกําลังได้รับการก่อสร้างเพื่อเชื่อม
เขตเศรษฐกิจพิเศษกับประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างท่อส่งก๊าซ
และน้ํามันคู่ขนานไปตามแนวถนนเชื่อมต่อนี้ด้วย ยังมีการวางแผนก่อสร้างเขื่อน
เพื่อสร้างอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเศรษฐกิจ
พิเศษ ท่าเรือขนาดเล็กทางทิศใต้ เหมืองหินทางทิศเหนือ และหมู่บ้านรองรับผู้
อพยพสําหรับชาวบ้านผู้ต้องถูกโยกย้ายออกจากพื้นที่โครงการ
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นโครงการความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร
09