Page 59 - เสียงจากชุมชน : ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง
P. 59
ซื้อที่ดินทํากินใหม่ในหมู่บ้านรองรับผู้อพยพและ ย้ายไปอยู่ในพื้นที่รองรับผู้อพยพมีมาตรฐานการ
ที่อื่น ๆ อีก 39 เปอร์เซ็นต์ใช้เงินไปกับการชดใช้ ดํารงชีวิตตํ่าลงจากแต่ก่อน
หนี้สิน • มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาล
ได้จัดเตรียมพื้นที่ใหม่ให้ และให้หลักประกันว่าพวก
• การคํานวณและการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ไม่ยุติธรรม เป็น เขาจะมีวิถีการดํารงชีวิตที่มั่นคงในอนาคต
ไปตามสถานการณ์ และขาดความโปร่งใส
• บริษัทไม่ได้ตั้งโครงสร้างมาตรฐานราคาค่าชดเชย
การคํานวณค่าชดเชยมักผิดพลาดและไม่คงเส้นคงวา
• มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนระบุว่า การชดเชย
มีระบบมาตรฐาน ผู้เข้าร่วมในการสนทนากลุ่มระบุ
ว่า เจ้าหน้าที่บริษัทและเจ้าหน้าที่รัฐได้ต่อรองค่า
ชดเชยกับชาวบ้านในแต่ละครัวเรือน คําบอกเล่านี้
ชี้ให้เห็นถึง ความไม่โปร่งใสและไร้ความเป็นธรรม
ในการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งรวมถึง กรณีการคํานวณค่า
ชดเชยที่ผิดพลาด และความล้มเหลวในการชดเชย
สําหรับวิถีอาชีพทั้งหมดของชาวบ้าน เนื่องจากการ
ชดเชยมักคํานวณเฉพาะมูลค่าของพืชเศรษฐกิจ
เพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
• ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มระบุว่า ครอบครัวต่าง ๆ บทที่ 2
ประสบปัญหาสูญเสียรายได้อันเนื่องมาจากการ
ดําเนินงานของโครงการ และผลกระทบต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้น เช่น นํ้าท่วม ดินถล่ม และการขาดแคลนนํ้า
เป็นการสูญเสียที่ไม่ได้รับการชดเชย
• ชาวบ้านจํานวนมากตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
ในกระบวนการจ่ายค่าชดเชย
• ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มระบุว่า คนที่มีสายสัมพันธ์
กับเจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับค่าชดเชยในอัตราที่สูงกว่า
คนอื่น ๆ
• มีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับค่าชดเชยแล้วที่ระบุ
ว่า ได้รับเอกสารทางการเมื่อรับเงินค่าชดเชย ประมาณ
30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับค่าชดเชยได้รับเพียงเศษ
กระดาษเป็นหลักฐาน ในขณะที่อีก 59 เปอร์เซ็นต์
ไม่ได้รับเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าชดเชยใด ๆ เลย
• การจัดการสําหรับพื้นที่รองรับผู้อพยพไม่เพียงพอ
• ข้อมูลจากกรณีศึกษาชี้ให้เห็นว่า ชาวบ้านที่ต้องโยก
59