Page 57 - เสียงจากชุมชน : ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง
P. 57
ครอบครัวแตกแยก สูญเสียร�ยได้และแหล่งอ�ห�ร ที่หมู่บ้�นทำ�น�เกลือยอดัตท�
กรณี นางเล โป (อายุ 45 ปี) เกิดที่หมู่บ้านทํานาเกลือแห่งนี้และอาศัยอยู่มาทั้งชีวิต หมู่บ้านนี้มีชาวบ้าน
ศึกษา ประมาณ 50 คนจาก 11 ครอบครัว ชาวบ้านที่นี่เคยประกอบพิธีกรรมทางจิตวิญญาณทุกๆ ปีเพื่อ
ที่ 3 ปกป้องคุ้มครองชุมชนของพวกเขา
ชาวบ้านแต่ละครอบครัวมีรายได้ประมาณ 8,000 จั๊ต (240 บาท) ต่อเกลือหนึ่งโถ หรือประมาณ
40,000 จั๊ต (1,200 บาท) ต่อวัน ตอนนี้ไม่มีใครทําเกลือได้อีกต่อไปแล้ว บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้รื้อทําลายบ้านเรือนของ
พวกเขาในปี 2554 เพื่อสร้างถนนเลียบชายหาด นางเล โป ไม่สามารถหยุดยั้งคนเหล่านั้นที่มาทําลายบ้านเรือนเธอได้
และต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ ปัจจุบันนี้เธอมีชีวิตลําบากขึ้นมาก เธอต้องอาศัยอยู่ในบ้านพี่สาวพร้อมกับลูก ๆ อีก 3 คน
ก่อนหน้านี้ ลูก ๆ ของเธอทั้งหมดได้เข้าโรงเรียน แต่ตอนนี้เหลือเพียงคนเดียวที่ได้ไปโรงเรียน เพราะเธอไม่มีเงินพอที่จะส่ง
เสียลูกคนอื่น ๆ
นางเล โป เริ่มหางานรับจ้างรายวันทําโดยมีรายได้วันละ 1,000–1,500 จั๊ต (30–45 บาท) แต่บางครั้งก็ไม่มีคนจ้าง
เธอยังหารายได้จากการสานหลังคาด้วยใบไม้ หาสมุนไพรป่าขาย และเปิดร้านขายของชําเล็ก ๆ สามปีที่ผ่านมา เธอติด
หนี้สะสมถึง 3,000,000 จั๊ต (90,000 บาท) นางเล โป ต้องการค่าชดเชยที่เป็นธรรมสําหรับการสูญเสียที่ดินและนาเกลือ
เนื่องจากเธอต้องสูญเสียแหล่งทํามาหากินที่สําคัญ
ครอบครัวอื่น ๆ จากหมู่บ้านทํานาเกลือต้องโยกย้ายไปอยู่อย่างกระจัดกระจายในหมู่บ้านเต็งจีซึ่งชาวบ้าน 5 ครอบครัว
มีที่ดินอยู่ที่นั่น และที่หมู่บ้านปาราดัต (ทั้งสองหมู่บ้านนี้ยังคงถูกกําหนดเป็นบริเวณก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ) นอกจาก
รายได้จากการทํานาเกลือ หลายครอบครัวในหมู่บ้านยังได้พึ่งพาเก็บหาอาหารจากป่าชายเลนด้วย แต่ตั้งแต่ที่ป่าชายเลนถูก
ทําลายลงในปี 2554 ไม่เพียงแต่ชาวบ้านจากยอดัตทาเท่านั้นที่สูญเสีย แต่ยังรวมถึงชาวบ้านในหมู่บ้านเต็งจีอีกหลายครอบครัว บทที่ 2
ด้วย ชาวบ้านในหมู่บ้านเต็งจีประเมินว่า ประมาณหนึ่งในห้าของคนในหมู่บ้านพึ่งพาอาหารจากป่าชายเลน โดยเฉพาะชาว
บ้านที่ไร้ที่ทํากิน ในตอนนี้ ชาวบ้านพวกนี้ต้องหันมาซื้ออาหารจากร้านค้าหรือในตลาด สถานการณ์ของพวกเขายิ่งแย่ลง
ไปเรื่อย ๆ
บทสรุปสำาหรับข้อค้นพบ
การได้รับข้อมูลที่จำากัด กระทบเชิงบวกของโครงการ
ทั้งก่อนและหลังการถูกอพยพโยกย้าย • มีผู้ให้ข้อมูลเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับเอกสารข้อมูล
• เจ้าหน้าที่บริษัทและเจ้าหน้าที่รัฐบาลไม่ได้แจ้งอย่าง ของโครงการ และเพียงครึ่งหนึ่งในจํานวนนี้เท่านั้น
เป็นทางการให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรับทราบก่อนที่ ที่เข้าใจสิ่งที่เขียนอยู่ในเอกสาร
โครงการจะเริ่มกิจกรรมการสํารวจและก่อสร้าง
• มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนที่บอกว่าได้รับรู้ • การเผยแพร่ข้อมูลของเจ้าหน้าที่โครงการไร้ประสิทธิภาพ
เกี่ยวกับโครงการโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสิ้นเชิง
• ครัวเรือนส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ได้รับข้อมูลจาก • ชาวบ้านระบุว่า ไม่ได้รับรู้มากนักเกี่ยวกับลักษณะ
คําบอกเล่าแบบปากต่อปาก และขอบเขตขององค์ประกอบทั้งหมดของโครงการ
• สองในสามของครัวเรือน (66 เปอร์เซ็นต์) ไม่ได้รับ มีครัวเรือนเพียง 6 เปอร์เซ็นต์จากการสํารวจโดย
ข้อมูลในรูปแบบใด ๆ เลยจากรัฐบาลหรือบริษัท และ แบบสอบถาม และไม่มีชาวบ้านคนใดเลยจากการ
ส่วนใหญ่ของผู้ที่ได้รับข้อมูลจะรับทราบเพียงผล สนทนากลุ่มที่รับรู้ว่า จะมีอุตสาหกรรมนํ้ามันและ
57