Page 56 - เสียงจากชุมชน : ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง
P. 56
กรณีศึกษาในประเด็นการอพยพโยกย้าย
ชีวิตย�กลำ�บ�กของครอบครัวที่ต้องย้�ยไปยังเขตรองรับผู้อพยพที่บ�ว�ร์
กรณี คู่สามีภรรยา นายเอ ส่วย (อายุ 48 ปี) และนางมา เล (อายุ 45 ปี) ได้ย้ายไปยังหมู่บ้านรองรับผู้
ศึกษา อพยพที่บาวาร์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 พวกเขาเคยมีบ้านอยู่ที่ชาคาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง
ที่ 1 ใกล้กับหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย แต่บ้านของเขาถูกรื้อทําลายเพื่อ
เป็นพื้นที่สําหรับโครงการ แต่เดิมมีอยู่ 4 ครอบครัวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตอพยพนี้ แต่ว่าพวกเขาต้อง
ประสบกับปัญหามากมายทั้งไม่มีนํ้า ไม่มีรถโดยสาร และลูกหลานไม่สามารถไปโรงเรียนได้ อีก 3 ครอบครัวจึงย้ายออกไป
หลังจากนั้นไม่กี่เดือน เหลือเพียงครอบครัวนายเอ ส่วย และนางมา เล ที่ยังคงอยู่
แต่ก่อนที่พวกเขาอยู่ที่ชาคาน อาชีพหลักของครอบครัวคือ การทําประมง พวกเขามีรายได้ประมาณ 5,000–
10,000 จั๊ต [150–300 บาท] ต่อวัน ก่อนหน้านี้ พวกเขาอาศัยอยู่กับลูก ๆ แต่ตอนนี้ลูกชายของเขาสองคนซึ่งมีอายุ 7 และ
9 ปี ต้องไปอาศัยอยู่ที่วัด ลูกสาวอายุ 13 ปีต้องออกจากโรงเรียนมาทํางานในหมู่บ้านประมงบริเวณใกล้เคียง เธอมีรายได้
ในแต่ละวันจากการตากและแปรรูปปลา รวมเป็นเงิน 90,000 จั๊ต (2,700 บาท) ต่อเดือน เธอต้องส่งเงินไปให้พ่อแม่ซึ่งต้องพึ่ง
รายได้ดังกล่าวเป็นหลัก ลูกสาวอาศัยอยู่กับเจ้าของเรือที่เธอทํางานด้วย
นายเอ ส่วย ต้องหันมาล่าสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยตามพงหญ้า เช่น หนูและกระรอก รอบ ๆ เขตอพยพที่เขาอยู่ หากวัน
ไหนมีงานรับจ้างให้ทํา พวกเขามีรายได้วันละ 1,000–1,500 จั๊ต (30–45 บาท) แต่งานรับจ้างไม่ได้มีทุกวัน พวกเขาได้รับ
เงินค่าชดเชย 1,000,000 จั๊ต (30,000 บาท) สําหรับที่ดินที่สูญเสียไป แต่เงินถูกใช้ไปหมดแล้ว และตอนนี้ครอบครัวก็ยัง
เป็นหนี้อีก ความช่วยเหลือเดียวที่ทางบริษัทให้หลังจากที่พวกเขาย้ายมาที่หมู่บ้านอพยพนี้คือ หานํ้ามาให้ทุก ๆ 3 วัน แต่ตั้งแต่ที่
บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ถอนตัวจากโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2556 พวกเขาก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ในบ้านอีกต่อไป ครอบครัว
นายเอ ส่วย ไม่เหมือนกับอีกสามครอบครัวที่ได้ย้ายออกไป เพราะเขาไม่มีที่ไป จึงต้องอาศัยอยู่ในเขตอพยพเพียงลําพัง
วิถีดำ�รงชีพถูกคุกค�ม ช�วบ้�นถูกฟ้องร้องที่หมู่บ้�นช�ค�น
กรณี นายโซ หนาย (อายุ 45 ปี) เกิดที่หมู่บ้านชาคาน ครอบครัวของเขาประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่
ศึกษา รุ่นพ่อแม่ หมู่บ้านชาคานมีศาลเจ้าเก่าแก่ซึ่งเป็นที่สักการะของชุมชนประมงในบริเวณใกล้เคียง และ
ที่ 2 มีการจัดพิธีกรรมปีละครั้ง ชาวบ้านจําได้ว่าหมู่บ้านชาคานมีอายุมากกว่า 100 ปี เก่าแก่พอ ๆ กับ
หมู่บ้านเต็งจี ในปัจจุบันหมู่บ้านชาคานมี 30 ครัวเรือน มีชาวบ้านที่เป็นเจ้าของเรือหาปลา 3 คน
เรือแต่ละลําจะมีคนงานชาวประมง 10 คนออกหาปลา ซึ่งหมายความว่าเรือหาปลาเหล่านี้เป็นแหล่งทํามาหากินให้ชาว
บ้านทั้งหมู่บ้าน ชาวบ้านมีรายได้ประมาณ 5,000–10,000 จั๊ต (150–300 บาท) ต่อวันจากการจับปลา ในช่วงเดือนกรกฎาคม
ถึงสิงหาคมของทุกปี ชาวบ้าน 15 ครอบครัวจะกลับไปอยู่ที่หมู่บ้านเต็งจี ซึ่งพวกเขามีบ้านแต่ไม่มีที่ทํากิน และทํางาน
รับจ้างรายวัน ในขณะเดียวกันอีก 15 ครอบครัวที่มีบ้านอยู่เฉพาะหมู่บ้านชาคานยังคงทําประมงอยู่ในหมู่บ้านตลอดทั้งปี
ก่อนหน้านี้มีป่าสนทะเลขึ้นเรียงรายตามชายหาดยาวกว่า 4-5 ไมล์ ปลามักจะขึ้นมาหาอาหารใต้ร่มเงาของป่า
สนทะเลและชาวบ้านจะมาจับปลาที่นี่ แต่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ได้ทําลายป่าสนทะเลทั้งหมดและทําลายป่าชายเลนเนื้อที่
กว่า 300 เอเคอร์ ซึ่งเป็นแหล่งหากุ้ง หอย ปู ไส้เดือน และผลิตผลอื่น ๆ ของชาวบ้าน
นายโซ หนาย และชาวบ้านคนอื่น ๆ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้ย้ายออกจากหมู่บ้านโดยที่พวกเขาจะไม่ได้รับ
ค่าชดเชยใด ๆ เขาและเพื่อนบ้านปฎิเสธที่จะย้าย เจ้าของเรือหาปลาทั้งสามลํา รวมถึงตัวนายโซ หนาย ถูกฟ้องร้องดําเนิน
คดีภายใต้กฏหมายอาญามาตรา 188 ด้วยข้อหาไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐ พวกเขาต้องจ้างทนายความเพื่อว่า
ความในศาลอยู่หลายครั้ง และมีความเป็นอยู่ที่ยากลําบากขึ้น พวกเขาหวังว่าจะสามารถหาที่อยู่ใหม่ที่เขายังสามารถทํา
ประมงต่อไปได้
56