Page 107 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 107
91
นอกเหนือจาก “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน” คณะกรรมการความเสมอภาคและสิทธิ
มนุษยชนแห่งสหราชอาณาจักรยังได้พัฒนา “กรอบการวัดความเสมอภาค” ซึ่งเป็นความพยายามในการแก้ไข
ความไม่เสมอภาคของสังคมอังกฤษ โดยเจาะลึกในรายละเอียดเกือบทุกเรื่อง เพื่อการบรรลุเปูาหมายการเป็น
218
“สังคมวัฒนธรรมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน”
4.2.1.1 วัตถุประสงค์ของกรอบการวัดสิทธิมนุษยชน
ดังได้กล่าวข้างต้น ความตระหนักถึงปัญหาในหลักการและกฎหมายสิทธิมนุษยชน
มาใช้ในสหราชอาณาจักรมีมามานแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะได้ลงนามและให้สัตยาบัน
อนุสัญญาและสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับมาเป็นเวลาช้านาน นั่นคือ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลก
ครั้งที่สอง ใหม่ๆ ตลอดจนมีกฎหมายสิทธิมนุษยชนโดยตรงของประเทศแล้วก็ตาม เปูาหมายของการมีตราสาร
สิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิทธิมนุษยชนก็ยังคงมีข้อจ ากัด นั่นคือ ยังไม่สามารถขยายการบังคับใช้ ความ
219
เข้าใจและความเคารพให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสังคมไม่ จึงมีการหารือระหว่างนักคิด นักวิจัย อาจารย์ใน
มหาวิทยาลัย และนักปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนชั้นน าของประเทศ และได้ความเห็นชอบตรงกันว่า
จ าเป็นต้องมี “ตัวชี้วัด” ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยรัฐโดยผ่านการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานรัฐทั้งหลาย ด้วยกรอบความคิดเช่นนี้ ตัวชี้วัดที่จะได้จึงมีลักษณะต่างไปจากตัวชี้วัดด้านอื่นๆ ทั้งนี้
เนื่องจากเปูาหมายของการมีตัวชี้วัด มีตั้งแต่การเคารพสิทธิในเชิงแคบ ไปจนถึงการมี “วัฒนธรรม” การเคารพ
สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเปูาหมายขั้นสุดท้ายของตราสาร และการด าเนินงานต่างๆ ตามหลักการในตราสารสิทธิ
มนุษยชนทั้งหลาย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนของประเทศ
1) เพื่อสร้างเครื่องมือในการวัดการด าเนินงานตามพันธกรณีและความก้าวหน้า
ความส าเร็จผลที่ได้เกิดขึ้นแล้วในการวัดการด าเนินงานตามพันธกรณีของ
220
สหราชอาณาจักรที่สามารถเชื่อถือได้และมีลักษณะเชิงภาวะวิสัย
2) เพื่อให้ความเห็นเชิงข้อมูลแก่หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของสหราชอาณาจักร หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ องค์กร
218 Sabina Alkire, et al. “Developing the Equality Measurement Framework: selecting the indicators,
Research report 31, Equality and Human Rights Commission 2009. [online] Available at
http://www.equalityhumanrights.com/uploaded_files/emf/front_cover,_title_page,_contents_etc.pdf,
( 5 August 2011)
219
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารทางวิชาการที่เผยแพร่และสถาบันการศึกษาส าคัญด้านสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร ทั้ง
เอกสารการวิจัย บทความทางวิชาการ การจัดตั้งกลุ่มนักวิชาการ เพื่อศึกษาและก าหนดท่าทีทางด้านสิทธิมนุษยชนของ
สหราชอาณาจักร (เช่น ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และ London School of Economics and Political Science
(LSE) ที่จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ าเสมอเป็นจ านวนมาก โดยได้เสนอทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของประเทศ ซึ่งคณะ
ผู้ศึกษาเห็นว่ามีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการก าหนดนโยบายสาธารณะด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร
และการเสนอแนะต่อการปฏิรูประบบการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของยุโรปในกรอบของ Council of Europe โดยฝุาย
สหราชอาณาจักรอย่างส าคัญด้วย
220 ibid. p. 7.