Page 105 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 105
89
4.2 การพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ
เหตุผลในการเลือกศึกษาของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อยู่บน
แนวคิดว่าการเปรียบเทียบการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ควรพิจารณาประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและมี
ความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในด้านสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งควรจะใช้ประเทศในกลุ่ม
อาเซียน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเบื้องต้น คณะผู้ศึกษาพบว่าประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้ริเริ่มจัดท าตัวชี้วัดสิทธิ
มนุษยชน นอกจากนั้นเอกสารการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศก็จัดท าด้วยภาษา
ประจ าชาติ ซึ่งยากต่อการเข้าถึงเอกสารเหล่านั้น
ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้ศึกษามีความเห็นว่าหลักในการเลือกประเทศที่ใช้ศึกษาเปรียบเทียบควร
พิจารณาจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และระดับปัญหาสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึง
เอกสารเป็นส าคัญ ซึ่งแบ่งเป็นสองระดับ คือ
หนึ่ง ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และระดับปัญหาสิทธิมนุษยชน
คล้ายคลึงกับประเทศไทย โดยเลือกการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐ
แอฟริกาใต้มาศึกษาเปรียบเทียบ
สอง ประเทศที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ก้าวหน้ากว่าประเทศไทยและมี
ระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้น คณะผู้ศึกษาได้เลือกสหราชอาณาจักรเป็นตัว
แบบในการเปรียบเทียบ การที่เลือกเปรียบเทียบกับประเทศที่มีระบบการคุ้มครองที่มีความก้าวหน้ามากกว่า
ประเทศไทยอยู่บนแนวคิดที่ว่า รูปแบบที่ศึกษาจะช่วยเป็นแนวทางหรือแบบอย่างในการน ามาปรับใช้ให้เข้ากับ
สภาพสังคมไทย เพื่อให้การปกปูองคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.2.1 สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความส าคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
การท าความเข้าใจกับลักษณะเฉพาะของระบบการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร
211
เป็นปัจจัยส าคัญที่จะช่วยให้เข้าใจและน าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
จากการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร การเฝูาสังเกต และติดตามสถานการณ์การส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักรพบว่าในช่วงกว่าสองทศวรรษมานี้ ผู้ก าหนดนโยบายและฝุาย
การเมืองของสหราชอาณาจักรให้ความส าคัญและมีความพยายามในเชิงรุกที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างมีนัยส าคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะที่ส าคัญและเป็นเสาหลัก
211
Jean Candler, Sanchita Hosali, Tiffany Tsang and Polly Vizard, Developing a Human Rights
Measurement Framework (HRMF), Background Briefing Paper for specialist consultation on the human
rights measurement framework (HRMF), 2010. (online)
http://personal.lse.ac.uk/prechr/hrmf/HRMF_background.pdf