Page 106 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 106

90


               ของชาติ ดังจะเห็นได้จาก การผลักดันให้มีพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2541 (Human  Rights  Act
                        212
               1998) ขึ้น

                              ในช่วงเวลาการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นสหราชอาณาจักรมีความต้องการเพียง
               เพื่อยืนยันอ านาจในการตีความเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งนับตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้ง
               ที่สองสหราชอาณาจักรได้มีบทบาทส าคัญในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยระบบของสภาแห่งยุโรป (Council

               of  Europe) แต่ระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักรโดยสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะศาลของ
                                                                                                       213
               อังกฤษที่ตีความกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่สอดคล้องกับระบบของสภาแห่งยุโรป
               ดังนั้น การด าเนินการครั้งส าคัญขั้นแรกของสหราชอาณาจักร คือ การประมวลสิทธิมนุษยชนให้เป็นลายลักษณ์
                                             214
               อักษรของบทบัญญัติ (codify) ขึ้น      ทั้งนี้เนื่องจากระบบกฎหมายของสหราชอาณาจักรเป็นระบบ
               คอมมอนลอว์ (Common  law) หรือกฎหมายจารีตประเพณีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  และระบบกฎหมาย
               ของสหราชอาณาจักรถือว่ากฎหมายภายในประเทศกับกฎหมายระหว่างประเทศเป็นคนละระบบหรือที่เรียกว่า
               ทวินิยม (Dualism) แม้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป แต่อนุสัญญานั้นยังไม่ผูกพันองค์กรต่างๆ
               ในประเทศจนกว่าจะมีการแปลงให้เป็นกฎหมายภายใน เช่น ตรากฎหมาย หรือออกระเบียบ กฏ หรือแนวปฏิบัติ


                               เมื่อมีพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2541 บังคับใช้มาระยะหนึ่ง สหราชอาณาจักรเห็น
               ความจ าเป็นในการยกระดับสิทธิมนุษยชนขึ้นเป็นนโยบายสาธารณะที่ส าคัญระดับเสาหลักของชาติ จึงผลักดัน
                                                                                              215
               พระราชบัญญัติความเสมอภาคทางโอกาส พ.ศ. 2549 (Equal  Opportunities  Act  2006)   ขึ้นอีกฉบับ
               หนึ่ง พร้อมทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการความเสมอภาคทางโอกาส พระราชบัญญัตินี้หากอ่านเพียงอารัมภบทจะ
               เห็นว่ามีความส าคัญน้อยและมีวัตถุประสงค์ที่แคบ คือ การยุบรวมและจัดองค์กรใหม่  แต่บทมาตราต่างๆ ใน
               พระราชบัญญัติ และหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการด าเนินงานของคณะกรรมการความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน
               ได้สร้างมิติใหม่ที่เป็นการ “ปฏิรูป” องค์กรต่างๆ ของสหราชอาณาจักร กล่าวคือ การเข้าสู่การสร้างสังคมที่มี

               วัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนในทุกแง่มุมของบริการสาธารณะของรัฐ ภารกิจที่ส าคัญเร่งด่วนและ
               ต่อเนื่องของคณะกรรมการความเสมอภาคทางโอกาส นี้จึงเป็นการแก้ไขสิ่งที่ขัดหรือแย้งกับ “การเคารพสิทธิ
               มนุษยชน” กับ “การปฏิบัติราชการ” ซึ่งเป็นที่มาที่ส าคัญของการพัฒนา และน ามาบังคับใช้อย่างทั่วถึง ซึ่ง
                                                                            216
               “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Measurement Framework)”

                               “กรอบการวัดสิทธิมนุษยชน” ของสหราชอาณาจักรเกิดจากการทบทวนพัฒนาการตัวชี้วัด
               สิทธิมนุษยชนที่พัฒนาโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The  United  Nations
                                                                          217
               Office of the High Commissioner for Human Rights: OHCHR)





               212    ibid.
               213    ibid.
               214    ibid.
               215
                    Equality Act 2006, [online] http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2006/3. สืบค้น 5 สิงหาคม 2512
               216
                    ibid.
               217
                    Office of the High Commissioner for Human Rights, Report on Indicators for Promoting and Monitoring
                    the Mmplementation of Human Rights, UN Doc. HRI/MC/2008/3, 6 June 2008.
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111