Page 120 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 120
ตรวจสอบต่อ คณะอนุกรรมการฯก็จะพิจารณาตรวจสอบต่อไป แม้จะมีการขอถอนเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้อง โดยได้มี
การระบุไว้ในรายงานการตรวจสอบ
ตารางที่ 4.7 ตัวอย่างบางส่วนของรายงานที่เสนอให้ยุติโครงการ
เรื่อง : สิทธิชุมชน กรณีเขื่อนท่าแซะ อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ความเป็นมา : เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ได้เกิดวาตภัยจากพายุเกย์ เป็นผลให้น ้าท่วมจังหวัดชุมพรและชุมชนบริเวณโครงการก่อสร้าง
เขื่อนท่าแซะ ซึ่งประกอบด้วยคนไทยและคนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับความบอบช ้าอย่างแสนสาหัส ต้องดิ้นรนช่วยเหลือตนเองในการ
ั
สร้างชีวิตใหม่ กลับจะต้องถูกซ ้าเติมด้วยโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ อนึ่ง ปญหาน ้าท่วมอ าเภอเมืองชุมพรก็ได้รับการแก้ไข
จากโครงการแก้มลิงหนองใหญ่ตามพระราชด าริ โครงการขุดคลองนากระตามเพื่อระบายน ้าจากคลองท่าแซะ และโครงการอื่นๆ
ั
ซึ่งช่วยแก้ไขปญหาน ้าท่วมในจังหวัดชุมพรได้แล้ว
ความเห็น : คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความเห็นว่า
๓.๑ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างโครงการและบริเวณโดยรอบมีสิทธิในการก าหนดเจตจ านงในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตน ประกอบกับโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ เป็นโครงการของรัฐที่มี
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง แต่จากการตรวจสอบพบว่า การริเริ่มโครงการและการด าเนินการของ
ั
ั
โครงการกลับไม่มีกระบวนการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟงความคิดเห็น
ปี ๒๕๓๙ ตลอดทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการก็ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
จากการตรวจสอบยังพบอีกว่า โครงการนี้ก่อให้เกิดการกระท าอันเป็นการข่มขู่ คุกคาม และสร้างความ
หวาดกลัว แตกแยกในชุมชน อันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิชุมชน
๓.๒ ประชาชนมีสิทธิในการก าหนดวิถีชีวิตของตนเอง โดยการเลือกที่จะอยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานใน
สิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น เมื่อประชาชนและชุมชนประสงค์จะใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิมของตนเอง กรมชลประทานจึงควรเคารพการ
ตัดสินใจเลือกถิ่นฐานของชุมชนที่ไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่
๓.๓ เนื่องจากเขื่อนท่าแซะเป็นโครงการของรัฐ ซึ่งก่อนด าเนินการก่อสร้างจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเสียก่อน แต่ปรากฏว่ากรมชลประทานยังปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ ไม่ครบถ้วน ดังนี้
๓.๓.๑ กรมชลประทานยังมิได้ด าเนินการให้ถูกต้องตามกฎระเบียบในกรณีขอบเขตพื้นที่น ้าท่วม
่
ถึงที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาอุทยานสมเด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พร้อมทั้งรายงานผลการด าเนินงานให้ประธาน
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อทราบ ก่อนที่จะน าเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๓.๓.๒ กรมชลประทานยังมิได้ด าเนินการในประเด็นข้อเรียกร้องของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจาก
ั
โครงการให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะด าเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน ้า ซึ่งจากผลการตรวจสอบพบว่า จนปจจุบันราษฎรยังไม่ยินยอมใน
การอพยพและไม่ยอมรับค่าชดเชย
ั
๓.๓.๓ จนถึงปจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่า รอยเลื่อนระนองจะมีความปลอดภัยต่อความแข็งแรง
ของเขื่อนท่าแซะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่รู้สึกได้ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเดือน
กันยายน - ตุลาคม ๒๕๔๙ ดังนั้น การสร้างเขื่อนท่าแซะอาจจะก่อภยันตรายร้ายแรงต่อประชาชนใต้เขื่อน
๓.๔ โครงการเขื่อนท่าแซะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขน ้าท่วมในตัวเมืองชุมพร ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไข
ั
ปญหาก่อนมีโครงการแก้มลิงหนองใหญ่ ตามพระราชด าริ และโครงการขุดคลองนากระตาม เพื่อระบายน ้าจากคลองท่าแซะลงสู่
ั
ทะเล ซึ่งหลังจากมีโครงการแก้มลิงหนองใหญ่แล้ว ไม่พบว่ามีปญหาน ้าท่วมในตัวเมืองชุมพรอีก
ส าหรับในเรื่องของความต้องการใช้น ้า ไม่พบว่าราษฎรในพื้นที่มีความจ าเป็นต้องใช้น ้าจากเขื่อนท่าแซะ
รวมถึงโครงการพัฒนาโรงงานถลุงเหล็กในเครือสหวิริยา
ข้อ ๔ มาตรการการแก้ไขปัญหา
ั
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมาตรการการแก้ไขปญหาต่อกรมชลประทาน และจังหวัดชุมพร
ดังนี้
๔.๑ ให้กรมชลประทานพิจารณายกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ ภายในก าหนดเวลา ๙๐ วัน นับแต่
วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
๔.๒ ให้จังหวัดชุมพรดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ก่อสร้างโครงการ
เขื่อนท่าแซะ โดยทันที นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
105