Page 118 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 118
ั
เพื่อให้ราษฎรสามารถน าเรือเข้าออกได้สะดวก แต่จากการรับฟงการชี้แจงของราษฎรพบว่า ราษฎรไม่ต้องการการขุดลอก
เพราะนอกจากจะเป็นการท าลายหญ้าทะเลแล้ว ชุมชนบริเวณดังกล่าวมีเรือประมงอยู่ไม่ถึง ๒๐ ล า ซึ่งที่ผ่านมาชาวประมงไม่
ั
เคยมีปญหาเรื่องที่จอดเรือ
จากข้อเท็จจริงข้างต้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า กระบวนการตัดสินใจต่อ
โครงการต้องเป็นไปตามหลักสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้องข้างต้น
ั
รวมทั้งต้องไม่เป็นสาเหตุให้ปญหาความขัดแย้งลุกลามบานปลายมากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรงจนท าให้ไม่สามารถควบคุม
ั
หรือแก้ไขปญหาได้
๔. จากค าชี้แจงของส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าว
อยู่ในเขตพื้นที่เตรียมประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
่
ก าหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่อ าเภอคุระบุรี อ าเภอตะกั่วปา อ าเภอท้ายเหมือง อ าเภอทับ
ปุด และอ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. ...... ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นด้วยกับการประกาศดังกล่าวให้
เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างถาวร
แต่เนื่องจากการประกาศข้างต้นยังไม่สามารถด าเนินการได้ทันที จึงเห็นว่าต้องขยายเวลาของประกาศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก าหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับ
ธรณีพิบัติ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่
๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ ออกไปจนกว่าจะมีการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมข้างต้นเรียบร้อยแล้ว
๕. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า การด าเนินโครงการในลักษณะที่จะก่อให้เกิดผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมในภาพกว้าง แต่ในการพิจารณาให้อนุญาตกลับแยกพิจารณาในประเด็นย่อย โดยไม่มีการมองและเชื่อมโยง
ผลกระทบในภาพรวม
๖. พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ และเป็นพื้นที่ที่ชาวประมงพื้นบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ง
ผู้ใช้ประโยชน์ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเมื่อเทียบเคียงกับกรณีการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามประมวลกฎหมาย
ที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ ที่มีการบัญญัติขั้นตอนการขอใช้ประโยชน์ตามกฎหมาย ดังนั้น การขอใช้ที่สาธารณะ
ในทะเลควรมีเงื่อนไขขั้นตอนที่เสมอกัน
การอนุญาตให้ใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ในทะเลที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ไปเป็นให้เอกชนใช้ประโยชน์ เป็น
การกระทบกระเทือนถึงสิทธิในการท ามาหากินของชาวประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวคลองสน ต าบลเกาะยาว อ าเภอเกาะยาว
จังหวัดพังงา ท าให้ประชาชนถูกลิดรอนจากวิถีทางแห่งการยังชีพของตน
ข้อ ๔ มาตรการการแก้ไขปัญหา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีข้อเสนอต่อ กรมการขนส่งทางน ้าและพาณิชยนาวี ส านักงานนโยบาย
และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดพังงา ดังนี้
๔.๑ ให้กรมการขนส่งทางน ้าและพาณิชยนาวียกเลิกการอนุญาต การขุดลอก การสร้างท่าเทียบเรือ การ
ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น และการกระท าใด ๆ บริเวณอ่าวคลองสน ต าบลเกาะยาว อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ที่ได้มีการอนุญาต
ไปแล้วโดยทันที
๔.๒ ให้ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศพื้นที่บริเวณอ่าวคลองสน
ต าบลเกาะยาว อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และให้เริ่มด าเนินการภายใน ๙๐ วัน
๔.๓ ให้ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขยายเวลาของประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก าหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ
ภัย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล พ.ศ.๒๕๔๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐
เมษายน ๒๕๔๙ ออกไปจนกว่าจะมีการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามข้อ ๔.๒ ในทันทีที่ได้รับรายงานฉบับนี้
๔.๔ ให้จังหวัดพังงา โดยคณะกรรมการพิจารณาสิ่งล่วงล ้าล าน ้าจังหวัดพังงา พิจารณาไม่อนุญาตให้มีการ
ใช้ประโยชน์จากที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันในลักษณะเช่นนี้ ทันทีที่ได้รับรายงานฉบับนี้
103