Page 117 - การรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบรายงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง แร่และสิ่งแวดล้อม ในอนุคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (พ.ศ.2544-2550)
P. 117
ตารางที่ 4.6 ตัวอย่างบางส่วนของรายงานที่แสดงถึงสิทธิชุมชน
เรื่อง : สิทธิชุมชน กรณีคัดค้านโครงการก่อสร้างสะพาน เขื่อนกันคลื่น ขุดลอกทราย และท่าเทียบเรือยอร์ช บริเวณ
อ่าวคลองสน อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ความเป็นมา : ราษฎรในชุมชนบ้านย่าหมี หมู่ที่ ๓ ต าบลเกาะยาวใหญ่ อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา และพื้นที่ใกล้เคียง ได้
ั่
พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ในทะเลและชายฝงบริเวณอ่าวคลองสนและบริเวณใกล้เคียงเป็นแหล่ง
ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมาช้านาน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ บริษัท นาราชา จ ากัด ได้ยื่นค าขออนุญาตก่อสร้างสะพาน เขื่อนกัน
คลื่น ขุดลอกทราย และท่าเทียบเรือยอร์ช บริเวณอ่าวคลองสน โดยอ้างว่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างความเจริญให้เกาะ
ยาวใหญ่ และเป็นที่จอดเรือประมงให้กับชาวประมง ราษฎรมีความกังวลว่า การก่อสร้างโครงการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อ
ั่
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝงในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะกระทบต่อหญ้าทะเล พันธุ์สัตว์น ้าวัยอ่อน ปะการัง ซึ่งเป็นแหล่ง
ห่วงโซ่อาหาร และจะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในที่สุด
ความเห็น : คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ในการด าเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ทั้ง
การตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยเอกสารจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและราษฎรมาชี้แจง
ข้อเท็จจริงด้วยวาจา และการเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ พบข้อเท็จจริงเบื้องต้นดังนี้
๑. การด าเนินโครงการก่อสร้างสะพาน เขื่อนกันคลื่น และท่าเทียบเรือยอร์ช บริเวณหาดคลองสน ต าบล
ั่
เกาะยาว อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จะก่อให้เกิดการท าลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของชายฝงทะเลอย่างรุนแรง
โดยเฉพาะแหล่งหญ้าทะเลซึ่งมีเป็นจ านวนมากในบริเวณดังกล่าว กล่าวคือ
๑.๑ บริเวณอ่าวคลองสนมีหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่ระหว่างแนวน ้าขึ้นสูงสุดถึงแนวน ้าลงต ่าสุด แหล่ง
หญ้าทะเลบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลค่อนข้างสูง มีพื้นที่ปกคลุมหญ้าทะเลอยู่ระหว่าง ๕๐-๙๐% การ
แพร่กระจายของหญ้าทะเลครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑.๘ ตารางกิโลเมตร หญ้าทะเลที่พบในบริเวณนี้มีถึง ๗ ชนิด จากที่มี
รายงานพบในเมืองไทย ๑๒ ชนิด
๑.๒ ราษฎรในชุมชนบริเวณดังกล่าวได้ร่วมกันอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลมาตลอด เพราะการมี
ั่
หญ้าทะเลนั้นผูกพันและเชื่อมโยงกับวิถีการท าประมงพื้นบ้านหรือประมงชายฝงมาก เนื่องจากหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารหลัก
ของสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น เต่าตนุ ปลานกแก้ว ปลาขี้ตังเป็ด ปลากระทุงเหว หอย Queen conch เม่นทะเล และทากเปลือก
บางชนิด เป็นแหล่งที่อยู่ของพืชอิงอาศัยที่หลากหลายมาก ซึ่งพืชเหล่านี้จะเป็นอาหารของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และปลา
และเป็นแหล่งสะสมอินทรีย์สารที่จะถูกกินและย่อยสลาย โดยสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และ จุลินทรีย์ ซึ่งสัตว์
ขนาดเล็กเหล่านี้จะเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น การท าลายหญ้าทะเลจึงเท่ากับเป็นการท าลาย
ชาวประมงในบริเวณดังกล่าวด้วย
๒. จากการตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ก าหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับธรณีพิบัติ จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัด
พังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเนื้อหาในประกาศเกี่ยวข้องโดยตรงกับแหล่งหญ้าทะเล
บริเวณนี้ คือ
๒.๑ พื้นที่หมู่ที่ ๒ บ้านช่องหลาด หมู่ที่ ๓ บ้านย่าหมี หมู่ที่ ๔ บ้านคลองบอน ต าบลเกาะยาว
ใหญ่ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ั่
๒.๒ พื้นที่จากแนวชายฝงทะเลโดยรอบเกาะออกไปในทะเล เป็นระยะ ๓๐๐ เมตร ของเกาะ
ยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา เป็นเขตน่านน ้าในพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ใน
ประกาศนี้
๒.๓ ในพื้นที่ตามข้อ ๒.๑ และข้อ ๒.๒ ห้ามกระท าการดังต่อไปนี้ กล่าวคือ ห้ามกระท าหรือ
การประกอบกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือมีผลกระทบหรืออาจท าให้ปะการังซากปะการังหรือหินปะการัง และหญ้าทะเล
ถูกท าลาย หรือเสียหายในแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเล ตามประกาศฯ ข้อ ๖(๒)
ดังนั้น การอนุญาตให้มีการด าเนินโครงการก่อสร้างสะพาน เขื่อนกันคลื่น และท่าเทียบเรือยอร์ช บริเวณ
อ่าวคลองสน ต าบลเกาะยาว อ าเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จึงเป็นการกระท าที่ขัดต่อประกาศข้างต้นอย่างชัดแจ้ง และยังมี
่
ความผิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๐๐ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดฝาฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามข้อก าหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๔๔ หรือตามประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจ าคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ”
ั
๓. จากการรับฟงการชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการกล่าวอ้างว่า การขุดลอกร่องน ้าดังกล่าวนั้น
102