Page 96 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 96

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                                (๒)  การกระทำาความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ.
          มาตรา ๘๐ นี้ หมายถึง ความผิดซึ่งเห็นกำาลังกระทำา หรือเป็นการพบ

          ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาได้กระทำาผิดมาแล้วสดๆ
          หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการกระทำาผิดที่เจ้าพนักงานนั้นได้เห็นกับตาตนเอง
          ไม่ใช่เป็นการบอกเล่าที่มาจากคนอื่นอีกทอดหนึ่ง (วินัย เลิศประเสริฐ, ๒๕๕๓:
          ๑๑๘) (โปรดดูแนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๑/๒๔๙๑)

                                (๓)  กรณีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า
          เช่น การทะเลาะวิวาท ซึ่งได้ยุติลงไปก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช่การกระทำา

          ความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำารวจซึ่งมาภายหลังเกิดเหตุ ไม่มีอำานาจจับ
          โดยไม่มีหมายจับ (โปรดดู แนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๔๓/๒๕๔๒)
          หรือกรณีตัวอย่างของ จ่าสิบตำารวจ ส. และร้อยตำารวจเอก ป. จับจำาเลยได้
          ในขณะที่จำาเลยกำาลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้กับจ่าสิบตำารวจ ส. ผู้ล่อซื้อ
          กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า (วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์, ๒๕๕๕: ๓๕๔)

          (โปรดดู แนวคำาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๔๖๑/ ๒๕๔๐)
                                (๔)  นอกจากนั้น คำาว่าซึ่งหน้ายังหมายรวมถึง

          ความผิดอาญาดังระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้  คือให้ถือว่า
          ความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังต่อไปนี้
                               (๔.๑)  เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับ ดังผู้กระทำาโดยมี

          เสียงร้องเอะอะ
                               (๔.๒)  เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใด

          หลังจากการกระทำาผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น และมีสิ่งของ
          ที่ได้มาจากการกระทำาผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น
          อันสันนิษฐานได้ว่า ได้ใช้ในการกระทำาผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์
          ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น






                                       72
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101