Page 97 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 97
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
๓.๗.๒.๒ เมื่อพบบุคคลมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า
ผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำา
ความผิด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๗๘(๒)
การจับตามกรณีนี้ เป็นการจับในลักษณะของการป้องกัน
การกระทำาผิดหรือป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น คือผู้กระทำาผิด ยังมิได้ลงมือ
กระทำาผิด เป็นเพียงการตระเตรียมหรือการเตรียมการที่จะกระทำาผิด การ
ตระเตรียมการเช่นว่านี้ ก็คือการมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอัน
สามารถอาจใช้ในการกระทำาผิดได้ดังกล่าวมาแล้ว และเมื่อมีการจับกุมผู้
กระทำาผิดดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานตำารวจจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ
ดังนี้ (วีรพล กุลบุตร, ๒๕๕๐: ๖๔)
(๑) การจับนั้น ใช้วิธีการจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๘๓
โดยแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบว่า เขาจะต้องถูกจับ
(๒) หากเป็นการจับในกรณีที่ผู้ถูกจับยังไม่ได้ลงมือ
กระทำาความผิด อาจอยู่ในขั้นตระเตรียมการกระทำาผิดหรือกำาลังจะก่อเหตุ
อันตรายประการอื่น เมื่อจับกุมตัวผู้กระทำาความผิดส่งพนักงาน
สอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องนำาตัวผู้ถูกจับยื่นฟ้องต่อพนักงาน
อัยการภายในสี่สิบแปดชั่วโมง เพื่อใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย ตาม ป.อ.
มาตรา ๔๖ และ พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๗
๓.๗.๒.๓ มีเหตุออกหมายจับบุคคลกรณีเร่งด่วน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๖๖(๒) แต่มีความจำาเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาล
ออกหมายจับบุคคลนั้นได้
73