Page 91 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 91

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            กรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔  ข้อ ๑๖ ,๒๔
            และหนังสือสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๔.๖/๑๓๒๐๕  ลงวันที่

            ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๕ เรื่อง แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอให้ศาล
            ออกหมายจับ หมายค้นและหมายขัง สำาหรับบุคคลที่อยู่ในอำานาจศาลทหาร)


                     ๓.๖.๔  แนวทางในการปฏิบัติการสอบสวนในคดีวิสามัญ
            ฆาตกรรม หรือคดีที่ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน

                     การสอบสวนในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำาของ
            เจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความ

            ควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือกรณี
            ที่ผู้ตายถูกกล่าวหาว่าต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการ
            ตามหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติดังนี้

                             (๑)  พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วม
            ทำาการสอบสวนทันที

                             (๒)  พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบสำานวนคดี
                             (๓)  พนักงานอัยการให้คำาแนะนำา และสามารถ
            ตรวจสอบพยานหลักฐาน ถามปากคำา หรือสั่งให้ถามปากคำาบุคคลที่เกี่ยวข้อง

            ได้ตั้งแต่เริ่มทำาสำานวน นับแต่โอกาสแรกเท่าที่พึงจะกระทำาได้
                             (๔)  การเข้าร่วมทำาสำานวนสอบสวนของพนักงานอัยการ

            ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำาหนดในกฎกระทรวง
                             (๕)  ในกรณีจำาเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันควรไม่อาจ
            รอพนักงานอัยการเข้าร่วมในการทำาสำานวนสอบสวน ให้พนักงาน

            สอบสวนทำาสำานวนต่อไปได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอพนักงานอัยการ
            ไว้ในสำานวน และถือว่าเป็นการทำาสำานวนที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ.
            มาตรา ๑๕๕/๑



                                          67
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96