Page 95 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 95

สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ




            ๓.๗ การจับ


                     ๓.๗.๑  หลักการ

                     การจับนั้นโดยปกติแล้วกฎหมายให้อำานาจแก่พนักงานฝ่าย
            ปกครองหรือตำารวจเป็นผู้มีอำานาจในการจับ โดยเจ้าพนักงานดังกล่าว
            จะทำาการจับได้ต้องมีหมายจับหรือมีกฎหมายให้อำานาจทำาการจับได้

            แม้จะไม่มีหมายจับซึ่งเป็นหลักที่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
            แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ วรรคสอง ที่บัญญัติ
            ไว้ว่า การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำามิได้  เว้นแต่มีคำาสั่งหรือหมาย

            ของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญ
            แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในมาตรา ๓๑ วรรคสอง
            ก็บัญญัติไว้ในลักษณะที่สอดคล้องต้องกันว่า การจับ คุมขัง ตรวจค้น
            ตัวบุคคลหรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพจะกระทำามิได้
            เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

                             การจับมี ๒ กรณีด้วยกันคือ

                             (๑)  จับโดยมีหมายจับ (หรือหมายศาล)
                             (๒)  จับโดยไม่มีหมายจับ



                     ๓.๗.๒  แนวทางในการปฏิบัติ

                             ๓.๗.๒.๑ การจับโดยไม่มีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ.
            มาตรา ๗๘

                                  (๑)  มีการกระทำาความผิดซึ่งหน้า ตาม ป.วิ.อ.
            มาตรา ๘๐







                                          71
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100