Page 90 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 90

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                               (๒.๘)  ถ้าผลการพิสูจน์ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหา
          เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา

          เสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๒ วรรคสาม ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟู
          สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รายงานผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานสอบสวน
          หรือพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำาเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

                               (๒.๙)  ในกรณีที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาคืนให้พนักงาน
          สอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำาเนินคดีต่อไป ให้นำาบทบัญญัติมาตรา
          ๒๐ วรรคสอง มาบังคับใช้โดยอนุโลม

                               (๒.๑๐) ในกรณีที่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
          ผู้ติดยาเสพติด ผู้ใด แม้จะได้รับการฟื้นฟูจนครบกำาหนดเวลาตาม
          มาตรา ๒๕ แล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ ให้คณะอนุกรรมการ

          ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวน
          หรือพนักงานอัยการ เพื่อประกอบการพิจารณาดำาเนินคดีผู้นั้นต่อไป
          และให้นำาความในมาตรา ๒๒ วรรคสี่ มาบังคับใช้โดยอนุโลม


                   ๓.๖.๓  แนวทางในการปฏิบัติคดีทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่า

          กระทำาความผิด
                   ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดทราบ เมื่อทหารได้รับแจ้งแล้ว

          จะทำาหนังสือมารับตัวไปควบคุม ในการสอบสวนฝ่ายทหารจะจัดนายทหาร
          ชั้นสัญญาบัตร หรือนายทหารพระธรรมนูญมาร่วมฟังการสอบสวน
          สำาหรับคดีที่ผู้ต้องหาเป็นทหารกระทำาผิดร่วมกับพลเรือน ซึ่งคดี
          อยู่ในอำานาจศาลแขวงและผู้ต้องหารับสารภาพ ให้ส่งฟ้องศาลแขวงได้

          โดยรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ แต่หากผู้ต้องหากระทำาผิดตามลำาพัง
          แม้ความผิดจะอยู่ในอำานาจศาลแขวงก็ยังคงต้องดำาเนินคดียังศาลทหาร
          (โปรดดู ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงาน




                                        66
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95