Page 80 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 80

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                   ๓.๓.๔  การสอบปากคำาผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรง
          ในครอบครัว


                           ๓.๓.๔.๑  หลักการ
                           พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา

          นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ
          ให้ร่วมอยู่ด้วยในขณะสอบปากคำา เพื่อให้คำาปรึกษา (ตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง
          ผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคสาม)

                           ๓.๓.๔.๒  แนวทางในการปฏิบัติ

                                (๑)  ผู้ที่ร่วมเข้าฟังการสอบสวนเพียงบุคคลใด
          บุคคลหนึ่งเท่านั้นไม่จำาเป็นต้องมีครบทุกคนตามที่กำาหนดไว้ใน ป.วิ.อ.
          มาตรา ๘

                                (๒)  หากผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว
          เป็นเด็กก็ต้องดำาเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ ทวิ

                                (๓)  ในกรณีจำาเป็นเร่งด่วน ซึ่งมีเหตุอันควร
          ไม่อาจรอจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำา
          ด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ ให้พนักงานสอบสวนทำาการสอบปากคำา

          ไปก่อนได้ โดยไม่ต้องมีบุคคลดังกล่าวร่วมอยู่ด้วย แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจ
          รอบุคคลดังกล่าวไว้ในสำานวนการสอบสวนด้วย

                                (๔)  ในการแจ้ง ให้แจ้งเป็นหนังสือ (ตาม พ.ร.บ.
          คุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘
          วรรคสี่ และระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
          ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำา
          ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และประมวลระเบียบการตำารวจ

          เกี่ยวกับคดี พ.ศ. ๒๕๕๑ หมวด ๒



                                        56
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85