Page 75 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 75
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
๓.๓.๑.๒ แนวทางในการปฎิบัติ
(๑) ก่อนถามคำาให้การต้องแจ้งสิทธิให้ทราบ
และการสอบปากคำาให้กระทำาในสถานที่ที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฎิบัติ
และไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น หรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้น
(๒) ในการแจ้งข้อกล่าวหา และการสอบปากคำา
เด็กหรือเยาวชน จะต้องมีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมด้วย
ทุกครั้ง พร้อมแจ้งด้วยว่า เด็กหรือเยาวชนมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
(๓) การสอบสวนต้องใช้ภาษาและถ้อยคำาที่ทำาให้
เด็กหรือเยาวชนเข้าใจง่าย โดยคำานึงถึง อายุ เพศ และสภาวะของเด็ก
และเยาวชนเป็นสำาคัญ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถสื่อสาร
ภาษาไทยได้ให้จัดหาล่าม (ตาม ป.วิ.อ.) หรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำานวย
ความสะดวกให้ (ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ๒๕๕๐)
(๔) การสอบปากคำาเด็ก ให้มีนักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมในการ
สอบปากคำานั้น เว้นแต่จำาเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวได้
หากการสอบปากคำาจะกระทบจิตใจผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก พนักงานสอบสวน
ต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ โดยไม่ให้เด็กได้ยินคำาถาม
ของพนักงานสอบสวน และให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพ
และเสียงการสอบปากคำานั้นด้วย
(๕) ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวน
มอบตัวเด็กให้อยู่ในความปกครองดูแลของบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคล
หรือผู้แทนองค์การที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย หากไม่มีบุคคลที่กล่าวมา ให้ส่งตัว
เด็กไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในโอกาส
แรกที่กระทำาได้ และต้องไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนับตั้งแต่ที่เด็กนั้นมาถึงสถาน
ที่ทำาการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
51