Page 85 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 85
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
๓.๔.๒ แนวทางในการปฏิบัติ
(๑) พนักงานสอบสวนต้องอธิบายข้อกฎหมายถึง
อายุความร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัว(ความผิดอันยอมความกันได้)
ให้ผู้เสียหายทราบและเข้าใจเสียก่อน หากผู้เสียหายประสงค์เพียงต้องการ
ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานไว้ก่อนเท่านั้น ยังไม่มอบคดีให้พนักงานสอบสวน
ในบันทึกประจำาวันที่ลงไว้เป็นหลักฐานพนักงานสอบสวนควรเขียนถึง
คำาอธิบายของพนักงานสอบสวนไปด้วยว่า “ได้ชี้แจง ถึงอายุความในการแจ้ง
ความร้องทุกข์ มอบคดีให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำาเนินคดีกับผู้ต้องหา
ตามกฎหมาย ต้องมอบคดีภายในสามเดือน นับแต่วันรู้เรื่องการกระทำา
ความผิดและรู้ตัวผู้กระทำาผิดให้ผู้แจ้งทราบและเข้าใจดีแล้ว”
(๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่มีนิติบุคคลเป็นผู้กระทำาผิด
และผู้เสียหายมอบอำานาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นมาแจ้งความร้องทุกข์
ต่อพนักงานสอบสวน ในหนังสือมอบอำานาจประสงค์แจ้งความให้ดำาเนินคดีกับ
นิติบุคคลเท่านั้น แต่พนักงานสอบสวนได้ดำาเนินคดีกับกรรมการของนิติบุคคล
นั้นในฐานะส่วนตัวด้วย เกิดความเสียหายต่อผู้ต้องหาที่ถูกดำาเนินคดีโดยที่
ผู้เสียหายไม่ได้ประสงค์ให้ดำาเนินคดีกับนิติบุคคลในฐานะส่วนตัว หรือบาง
ครั้งผู้เสียหายเป็นนิติบุคคลได้มอบอำานาจให้บุคคลอื่นมาแจ้งความร้องทุกข์
มอบคดีให้พนักงานสอบสวน แต่ในหนังสือมอบอำานาจไม่ได้ประทับตราของ
นิติบุคคลนั้น ถือว่าการมอบอำานาจไม่ถูกต้องผู้ที่รับมอบอำานาจไม่มีอำานาจ
มาแจ้งความร้องทุกข์ หากพนักงานสอบสวนได้สอบสวนไปการสอบสวนนั้น
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อัยการไม่มีอำานาจฟ้อง
(๓) หากผู้เสียหายมอบอำานาจให้ผู้อื่นมาร้องทุกข์ในคดี
ความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนต้องอ่านข้อความในหนังสือมอบอำานาจ
ให้ละเอียดรอบคอบว่าผู้เสียหายได้มอบอำานาจให้ดำาเนินการอะไรบ้าง กับใคร
อย่างไร และผู้รับมอบอำานาจต้องทำาการแทนได้ภายในกรอบวัตถุประสงค์
61