Page 78 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 78
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
(๔) มีหนังสือแจ้งสภาทนายความ (กรณี
สอบปากคำาผู้ต้องหาเป็นเด็ก) ให้ส่งทนายความมาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย
ให้ผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กและร่วมฟังการสอบสวนด้วย
(๕) แจ้งให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก
ทราบถึงการที่เด็กถูกจับกุมตัวและให้ร่วมฟังการสอบสวน และสอบถาม
จากเด็กว่าต้องการให้บุคคลใดที่เด็กไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบปากคำา
อีกหรือไม่
(๖) เตรียมห้องสอบปากคำาที่จัดแยกไว้เป็น
ส่วนสัด มีเครื่องบันทึกภาพและเสียงที่สามารถบันทึกภาพและเสียง
ซึ่งสามารถถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง
(๗) เริ่มบันทึกปากคำาพนักงานสอบสวน
ควรขานชื่อบุคคลที่ร่วมฟังการสอบสวนให้ได้ยินเสียงไว้ด้วยว่า ผู้ที่
ร่วมฟังการสอบสวนเป็นใครบ้างมีชื่อ นามสกุล ตรงกับที่ปรากฏในบันทึก
คำาให้การที่ได้บันทึกไว้หรือไม่
(๘) ในห้องบันทึกปากคำาควรมีนาฬิกาแขวน
ติดฝาผนังเอาไว้ด้วย เมื่อบันทึกภาพจะได้ปรากฏเวลาที่เริ่มสอบสวน
และเวลาที่เสร็จสิ้นในการสอบสวนไว้เป็นหลักฐานด้วย
๓.๓.๓ การสอบปากคำาผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ
๓.๓.๓.๑ หลักการ
(๑) ต้องให้พนักงานสอบสวนหญิงเป็นผู้สอบ
ปากคำาผู้เสียหายที่เป็นหญิง
(๒) ผู้เสียหายสามารถขอให้ผู้ที่ไว้วางใจร่วมอยู่
ด้วยในขณะสอบปากคำาได้ (เนื่องจากปัจจุบันยังมีพนักงานสอบสวนหญิง
จำานวนน้อย มีไม่ครบทุกสถานีตำารวจ จึงจำาเป็นที่พนักงานสอบสวนชาย
54