Page 82 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 82

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                           ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือคดีที่ผู้ต้องหา
          มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ

          หรือไม่ ถ้าไม่มี พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้ (ตาม ป.วิ.อ.
          มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคแรก)
                           ส่วนในคดีอื่นที่มีโทษจำาคุกพนักงานสอบสวนต้องถาม

          ผู้ต้องหาว่า มีทนายความหรือไม่ หากไม่มีและต้องการ พนักงานสอบสวน
          ต้องจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคสอง


                   ๓.๓.๖  กรณีการสอบปากคำาผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุ  ไม่เกิน

          สิบแปดปี ให้นำาบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา ๑๓๓ ทวิ  มาใช้บังคับใช้
          โดยอนุโลม
                   (การแจ้งทนายความให้ร่วมฟังการสอบสวนให้ปฏิบัติตามกฎ

          กระทรวง กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวน
          ต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๙
          ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ และ ข้อตกลงระหว่างสำานักงานตำารวจ

          แห่งชาติกับสภาทนายความ เรื่อง แนวทางในการปฏิบัติ กรณีผู้ต้องหา
          ใช้สิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำาของตนตามรัฐธรรมนูญ
          แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๑)



                           !  ข้อควรระวัง การสอบสวนนั้น
                  หากกระทำาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมทำาให้

                  พนักงานอัยการสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้
                  แต่หากการสอบสวนที่ไม่ชอบก็อาจจะทำาให้
                  ศาลต้องยกฟ้องคดีนั้น หรือผลอาจจะเป็นเพียง
                  ไม่รับฟังถ้อยคำาของผู้ต้องหาเท่านั้นก็ได้




                                       58
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87